
เที่ยวเมือง : Paris (ปารีส) Interlaken (อินเตอร์ลาเคน) Zurich (ซูริค) Lucerne (ลูเซิร์น) Bern (เบิร์น) Zug (ซูก) Montreux (มองเทรอซ์)
สายการบิน : Thai Airways International
รหัสโปรแกรม : T6625
ดาวน์โหลดโปรแกรมทัวร์
Code : QQGO3ZRH-TG008
เที่ยวเมือง : Paris (ปารีส) Interlaken (อินเตอร์ลาเคน) Zurich (ซูริค) Lucerne (ลูเซิร์น) Bern (เบิร์น) Zug (ซูก) Montreux (มองเทรอซ์)
สายการบิน : Thai Airways International
รหัสโปรแกรม : T6625
ดาวน์โหลดโปรแกรมทัวร์
Code : QQGO3ZRH-TG008
เที่ยวเมือง : Munich (มิวนิค) Paris (ปารีส) Zurich (ซูริค) Lucerne (ลูเซิร์น) Bamberg (แบมเบิร์ก) Nuremberg (นูเรมเบิร์ก) Frankfurt (แฟรงก์เฟิร์ต) Zug (ซูก) สายการบิน : Thai Airways International รหัสโปรแกรม : T6608 ดาวน์โหลดโปรแกรมทัวร์
เที่ยวเมือง : Heidelberg (ไฮเดลเบิร์ก) Colmar (กอลมาร์) Strasbourg (สตราสบูร์ก) Paris (ปารีส) Versailles (แวร์ซาย) Interlaken (อินเตอร์ลาเคน) Lucerne (ลูเซิร์น) Dijon (ดีฌง) Frankfurt (แฟรงก์เฟิร์ต) Zug (ซูก)
สายการบิน : Thai Airways International
ดาวน์โหลดโปรแกรม
เที่ยวเมือง : Paris (ปารีส) Milan (มิลาน) Lugano (ลูกาโน) Lucerne (ลูเซิร์น) Venice (เวนิส) Bern (เบิร์น) Como (โคโม) Zug (ซูก)
สายการบิน : Emirates
รหัสโปรแกรม : T6607
ดาวน์โหลดโปรแกรมทัวร์
Code : QQGO3VCE-EK001
เดินทางโดยสายการบิน ETIHAD AIRWAYS
ดาวน์โหลดโปรแกรม
น้ำหนักสัมภาระโหลดใต้ท้องเครื่อง 30 kg. / CARRY ON 7 kg.
เที่ยวเมือง : Paris (ปารีส) Milan (มิลาน) Pisa (ปิซา) Dijon (ดีฌง) Venice (เวนิส) Rome (โรม)
สายการบิน : Emirates
ดาวน์โหลดโปรแกรมทัวร์
เที่ยวเมือง : Munich (มิวนิค) Interlaken (อินเตอร์ลาเคน) Zurich (ซูริค) Lucerne (ลูเซิร์น) Vienna (เวียนนา) Switzerland (สวิตเซอร์แลนด์) Germany (เยอรมนี) Austria-Germany-Switzerland (ออสเตรีย-เยอรมนี-สวิตเซอร์แลนด์) Austria (ออสเตรีย) Zug (ซูก)
สายการบิน : Emirates
ดาวน์โหลดโปรแกรมทัวร์
เที่ยวเมือง : Zurich (ซูริค) Bratislava (บราติสลาวา) Brno (เบอร์โน) Prague (ปราก) Budapest (บูดาเปสต์) Innsbruck (อินส์บรุค) Salzburg (ซาลซ์บูร์ก) Vienna (เวียนนา) Cesky Krumlov (เซสกี ครุมลอฟ) Zug (ซูก)
สายการบิน : Emirates
รหัสโปรแกรม : T6701
ดาวน์โหลดโปรแกรม
Code : QQGO3VIE-EK002
เที่ยวเมือง : Munich (มิวนิค) Zurich (ซูริค) Bratislava (บราติสลาวา) Brno (เบอร์โน) Prague (ปราก) Budapest (บูดาเปสต์) Lucerne (ลูเซิร์น) Vienna (เวียนนา) Cesky Krumlov (เซสกี ครุมลอฟ) Zug (ซูก)
สายการบิน : Emirates
รหัสโปรแกรม : T6640
ดาวน์โหลดโปรแกรม
Code : QQGO3VIE-EK001
💥 สวิส - ฝรั่งเศส ‼️ KAF พาไปทาน Le Train Bleu ร้านอาหารสุดหรูของปารีส
✨ พร้อม พิชิต 3 เขา 1 ธารน้ำแข็ง แบบจัดเต็ม ‼️
สายการบิน Emirates (EK)
เดินทางช่วง กย.-ตค.66
ดาวน์โหลดโปรแกรม
PDF https://shorturl.asia/Utelj
อิตาลี สวิส ฝรั่งเศส 10วัน8คืน
สายการบิน Emirates (EK)
เดินทางช่วง มิย.-ธค.66
ดาวน์โหลดโปรแกรม
PDF https://shorturl.asia/1mgL7
สวิส Lovely Mono 8วัน5คืน
สายการบิน Emirates (EK)
เดินทางช่วง มิย.66
ดาวน์โหลดโปรแกรม
PDF https://shorturl.asia/Pew4b
มหัศจรรย์ ฝรั่งเศส สวิต อิตาลี 9วัน6คืน
สายการบิน Emirates (EK)
เดินทางช่วง สค.-ปีใหม่.67
ดาวน์โหลดโปรแกรม
PDF http://bit.ly/40cGh2H
มหัศจรรย์ SEMI สวิสเซอร์แลนด์ 7วัน4คืน
รวมทุกอย่างไม่ต้องจ่ายหน้างาน
สายการบิน Emirates (EK)
เดินทางช่วง ตค.-ธค.66
ดาวน์โหลดโปรแกรม
PDF http://bit.ly/44RlDYZ
เยอรมนี – ออสเตรีย – สวิตเซอร์แลนด์ – อิตาลี 9 วัน 6 คืน
สายการบิน Singapore Airlines (SQ)
เดินทางช่วง มิย.66
ดาวน์โหลดโปรแกรม
PDF : โปรแกรมทัวร์ pdf
เที่ยวเมือง : Paris (ปารีส) Versailles (แวร์ซาย) Milan (มิลาน) Zermatt (เซอร์แมท)
สายการบิน : EVA Air
รหัสโปรแกรม : T6618
ดาวน์โหลดโปรแกรมทัวร์
Code : QQGO3MXP-BR002
เที่ยว
เที่ยวเมือง : Milan (มิลาน) Verona (เวโรนา) Geneva (เจนีวา) Lucerne (ลูเซิร์น) Bern (เบิร์น) Zermatt (เซอร์แมท) Zug (ซูก) Montreux (มองเทรอซ์)
สายการบิน : Emirates
ดาวน์โหลดโปรแกรมทัวร์
เที่ยวเมือง : Genoa (เจนัว) Milan (มิลาน) Geneva (เจนีวา) Interlaken (อินเตอร์ลาเคน) Lugano (ลูกาโน) Zurich (ซูริค) Lucerne (ลูเซิร์น) Bern (เบิร์น) Zug (ซูก) Montreux (มองเทรอซ์)
สายการบิน : Emirates
รหัสโปรแกรม : T6611
ดาวน์โหลดโปรแกรมทัวร์
Code : QQGO3MXP-EK007
เที่ยวเมือง : Geneva (เจนีวา) Interlaken (อินเตอร์ลาเคน) Zurich (ซูริค) Lucerne (ลูเซิร์น) Bern (เบิร์น) Zermatt (เซอร์แมท) Montreux (มองเทรอซ์)
สายการบิน : Thai Airways International
รหัสโปรแกรม : T6583
ดาวน์โหลดทัวร์
Code : QQGO3ZRH-TG011
เที่ยวเมือง : Heidelberg (ไฮเดลเบิร์ก) Colmar (กอลมาร์) Strasbourg (สตราสบูร์ก) Paris (ปารีส) Zurich (ซูริค) Dijon (ดีฌง) Frankfurt (แฟรงก์เฟิร์ต) Zug (ซูก)
สายการบิน : Thai Airways International
ดาวน์โหลดโปรแกรมทัวร์
เที่ยวเมือง : Munich (มิวนิค) Milan (มิลาน) Zurich (ซูริค) Salzburg (ซาลซ์บูร์ก) Lucerne (ลูเซิร์น) Bern (เบิร์น) Zermatt (เซอร์แมท) Fussen (ฟุสเซ่น)
สายการบิน : EVA Air
ดาวน์โหลดโปรแกรมทัวร์
เที่ยวเมือง : Bergamo (เบอร์กาโม) Milan (มิลาน) Interlaken (อินเตอร์ลาเคน) Zurich (ซูริค) Bern (เบิร์น) Como (โคโม) Zug (ซูก) Rapperswil-Jona (รัพเพอร์สวิล-โจนา) Gruyeres (กรุยแยร์) Montreux (มองเทรอซ์)
สายการบิน : Emirates
ดาวน์โหลดโปรแกรมทัวร์
เที่ยวเมือง : Bergamo (เบอร์กาโม) Milan (มิลาน) Geneva (เจนีวา) Interlaken (อินเตอร์ลาเคน) Zurich (ซูริค) Lucerne (ลูเซิร์น) Bern (เบิร์น) Zermatt (เซอร์แมท) Como (โคโม) Zug (ซูก) Gruyeres (กรุยแยร์) Montreux (มองเทรอซ์)
สายการบิน : Thai Airways International
รหัสโปรแกรม : T6764
ดาวน์โหลดโปรแกรมทัวร์
เที่ยวเมือง : Geneva (เจนีวา) Interlaken (อินเตอร์ลาเคน) Zurich (ซูริค) Lucerne (ลูเซิร์น) Bern (เบิร์น) Zermatt (เซอร์แมท) Zug (ซูก) Rapperswil-Jona (รัพเพอร์สวิล-โจนา) Montreux (มองเทรอซ์)
สายการบิน : Thai Airways International
รหัสโปรแกรม : T6576
ดาวน์โหลดโปรแกรม
Code : QQGO3ZRH-TG010
เที่ยวเมือง : Munich (มิวนิค) Paris (ปารีส) Versailles (แวร์ซาย) Interlaken (อินเตอร์ลาเคน) Zurich (ซูริค) Salzburg (ซาลซ์บูร์ก) Lucerne (ลูเซิร์น) Bern (เบิร์น) Fussen (ฟุสเซ่น) Zug (ซูก)
สายการบิน : Thai Airways International
รหัสโปรแกรม : T6712
ดาวน์โหลดโปรแกรม
Code : QQGO3MUC-TG002
ซูริค | น้ำตกไรน์ | ลูเซิร์น | ยอดเขาทิตลิส | มิลาน เซอร์แมท | เจนีวา | โลซานน์ | เวเว่ย์ | มองเทรอซ์ | แทซ
เที่ยวเมือง : Colmar (กอลมาร์) Strasbourg (สตราสบูร์ก) Paris (ปารีส) Versailles (แวร์ซาย) Geneva (เจนีวา) Interlaken (อินเตอร์ลาเคน) Zurich (ซูริค) Lucerne (ลูเซิร์น) Bern (เบิร์น) Zermatt (เซอร์แมท) Zug (ซูก) Montreux (มองเทรอซ์)
สายการบิน : Thai Airways International
ดาวน์โหลดโปรแกรม
เที่ยวเมือง : Geneva (เจนีวา) Interlaken (อินเตอร์ลาเคน) Sion (ซียง) Zurich (ซูริค) Lucerne (ลูเซิร์น) Bern (เบิร์น) Zermatt (เซอร์แมท) Gruyeres (กรุยแยร์) Montreux (มองเทรอซ์)
สายการบิน : Thai Airways International
ดาวน์โหลดโปรแกรมทัวร์
เที่ยวเมือง : Paris (ปารีส) Versailles (แวร์ซาย) Milan (มิลาน) Pisa (ปิซา) Zurich (ซูริค) Lucerne (ลูเซิร์น) Dijon (ดีฌง) Venice (เวนิส) Rome (โรม) Como (โคโม) Zug (ซูก)
สายการบิน : Emirates
ดาวน์โหลดทัวร์
สวิตเซอร์แลนด์ (อังกฤษ: Switzerland; เยอรมัน: Schweiz; ฝรั่งเศส: Suisse; อิตาลี: Svizzera; รูมันช์: Svizra) มีชื่อทางการว่า สมาพันธรัฐสวิส (อังกฤษ: Swiss Confederation; ละติน: Confoederatio Helvetica) เป็นประเทศขนาดเล็กที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล และตั้งอยู่ในยุโรปตะวันตก มีพรมแดนติดกับประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอิตาลี ประเทศออสเตรีย และประเทศลีชเทินชไตน์ มีเมืองหลวงคือกรุงแบร์น และมีประชากรราว 8.5 ล้านคน ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของสวิตเซอร์แลนด์อยู่ระหว่างที่ราบสูงสวิส เทือกเขาแอลป์ และเทือกเขาฌูว์รา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 41,285 ตารางกิโลเมตร (15,940 ตารางไมล์) และมีพื้นที่แผ่นดินรวม 39,997 ตารางกิโลเมตร (15,443 ตารางไมล์) แม้ว่าเทือกเขาแอลป์จะครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ แต่ประชากรเกือบทั้งหมดอาศัยอยู่ในพื้นที่ราบสูง ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมืองใหญ่และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ซือริช เจนีวา และบาเซิล เมืองเหล่านี้เป็นที่ตั้งสำนักงานขององค์การระหว่างประเทศหลายแห่ง เช่น องค์การการค้าโลก องค์การอนามัยโลก องค์การแรงงานระหว่างประเทศ สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) สหประชาชาติ และธนาคารเพื่อการชำระบัญชีระหว่างประเทศ (บีไอเอส)
นอกจากนี้ ท่าอากาศยานหลักของประเทศก็ตั้งอยู่ในเมืองเหล่านี้เช่นกัน สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่วางตัวเป็นกลางทางการเมืองมาหลายศตวรรษ การก่อตั้งสมาพันธรัฐสวิสเก่าเกิดขึ้นในช่วงปลายสมัยกลางซึ่งเป็นผลมาจากชัยชนะทางการทหารที่มีต่อออสเตรียและดัชชีบูร์กอญ ความเป็นอิสระของสวิสจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการในสนธิสัญญาสันติภาพเว็สท์ฟาเลิน ใน ค.ศ. 1648 กฎบัตรของรัฐบาลกลางถือเป็นเอกสารสำคัญซึ่งรับรองการก่อตั้งประเทศและมีการเฉลิมฉลองในวันชาติมาถึงปัจจุบัน นับตั้งแต่การปฏิรูปประเทศในศตวรรษที่ 16 สวิตเซอร์แลนด์ยังคงวางตัวเป็นกลางด้านสงคราม และปราศจากสงครามระหว่างประเทศนับตั้งแต่ ค.ศ. 1815 และไม่ได้เข้าร่วมกับองค์การสหประชาชาติจนกระทั่ง ค.ศ. 2002
อย่างไรก็ตาม สวิตเซอร์แลนด์ได้ดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศอย่างแข็งขันและมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างสันติภาพทั่วโลก สวิตเซอร์แลนด์เป็นแหล่งกำเนิดของสภากาชาดซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรด้านมนุษยธรรมที่เก่าแก่และเป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก และยังเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งของสมาคมการค้าเสรียุโรป แต่ไม่ได้เข้าร่วมสหภาพยุโรป เขตเศรษฐกิจยุโรป และยูโรโซน แต่ยังคงมีส่วนร่วมในพื้นที่เชงเกนและการค้าในยุโรปผ่านสนธิสัญญาทวิภาคี สวิตเซอร์แลนด์ประกอบไปด้วยภูมิภาคที่มีความแตกต่างภาษาและวัฒนธรรมสี่ภูมิภาคหลัก ได้แก่ ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี และภาษารูมันช์ แม้ประชากรส่วนใหญ่จะพูดภาษาเยอรมัน ทว่าอัตลักษณ์ประจำชาติสวิสก็มีรากฐานมาจากภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ และค่านิยมร่วมกันโดยสะท้อนให้เห็นจากระบอบสหพันธรัฐ การปกครองแบบประชาธิปไตยโดยตรง และเทือกเขาแอลป์ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์แทนความหลากหลายของเชื้อชาติต่าง ๆ ในภูมิภาค อัตลักษณ์นี้แผ่ขยายไปยัง ภาษา กลุ่มชาติพันธุ์ และศาสนา สวิตเซอร์แลนด์ถือเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีความมั่งคั่งสูงที่สุดชาติหนึ่ง และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสูงเป็นอันดับที่ 8 ของโลก และยังมีระบบการจัดเก็บภาษีและระบบสวัสดิการสังคมที่มีคุณภาพสูง โดยมีระบบการศึกษา การสาธารณสุข การคมนาคม และสาธารณูปโภคที่มีคุณภาพ และมีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและมีดัชนีการพัฒนามนุษย์สูง
ซือริช เจนีวา และบาเซิล ล้วนติดอันดับเมืองที่มีคุณภาพชีวิตประชากรสูง แม้จะมีค่าครองชีพที่สูงที่สุดในโลกก็ตาม ใน ค.ศ. 2020 สถาบันการจัดการนานาชาติได้จัดอันดับให้สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศอันดับหนึ่งซึ่งดึงดูดแรงงานที่มีทักษะในการเข้ามาทำงาน และสภาเศรษฐกิจโลกได้จัดอันดับให้สวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีอัตราการแข่งขันสูงเป็นอันดับที่ 5 ของโลก ภูมิศาสตร์ แผนที่กายภาพ (Physical Map) ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ภูมิประเทศ พื้นที่มากกว่า 70% เป็นเขตภูเขา คือ เทือกเขาแอลป์ มีแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำไรน์ แม่น้ำโรน แม่น้ำตีชีโน และแม่น้ำอิน ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญมีเพียงหินแกรนิต หินปูน และหินที่ใช้ในการก่อสร้างเท่านั้น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่มีขนาดค่อนข้างเล็กและไม่มีทางออกสู่ทะเล เนื่องจากตั้งอยู่ใจกลางของทวีปยุโรปและมีพรมแดนติดกับหลายประเทศด้วยกัน[45] สวิสเซอร์แลนด์ได้รับสมญานามว่า "หลังคาแห่งทวีปยุโรป" เนื่องด้วยมีเทือกเขาสูงสลับแซมด้วยดงดอกไม้ป่าและทุ่งหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ และยังมีภูเขาใหญ่น้อยสลับกับป่าไม้ที่แทรกตัวอยู่ตามเนินเขา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีพื้นที่ประมาณ 41,287 ตารางกิโลเมตร และเป็นประเทศที่มีทะเลสาบมาก ลักษณะของภูมิประเทศจึงไม่ค่อยมีพื้นที่ราบ[46] ภูมิอากาศ ภูมิอากาศแบบสวิสโดยทั่วไปมีอุณหภูมิปานกลาง แต่อาจแตกต่างกันมากระหว่างท้องที่ ตั้งแต่สภาพน้ำแข็งบนยอดเขาไปจนถึงภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนอบอุ่นทางตอนใต้ ฤดูร้อนมักจะอบอุ่นและชื้นในบางครั้งโดยมีฝนตกเป็นระยะ ๆ จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ ฤดูหนาวจะมีอากาศชื้นโดยเฉพาะบนภูเขาอาจมีหิมะตกกินเวลานานเป็นสัปดาห์ ในขณะที่พื้นที่ด้านล่างมักจะประสบกับการผกผัน ของสภาพอากาศในช่วงเวลาเหล่านี้ และอาจมองไม่เห็นดวงอาทิตย์เป็นเวลาหลายสัปดาห์
ความเป็นอิสระและความเป็นกลางของสวิตเซอร์แลนด์ได้รับการยกย่องจากประเทศมหาอำนาจในยุโรปมาช้านาน และสวิตเซอร์แลนด์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางทหารเลยตั้งแต่ปี 1815 การรวมตัวทางการเมืองและเศรษฐกิจของยุโรปในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เช่นเดียวกับบทบาทของสวิตเซอร์แลนด์ในองค์การสหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่ง ได้กระชับความสัมพันธ์ของสวิตเซอร์แลนด์กับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม ประเทศนี้ยังไม่ได้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติอย่างเป็นทางการจนกระทั่งปี 2545 สวิตเซอร์แลนด์ยังคงมีบทบาทในองค์การสหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่ง แต่ยังคงยึดมั่นในความเป็นกลาง
สวิตเซอร์แลนด์นำเสนอสามวัฒนธรรมที่โดดเด่นที่สุดของยุโรป ทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นประเทศสวิสเซอร์แลนด์ที่พูดภาษาสวิส-เยอรมันที่สะอาดและถูกต้อง ทำงาน 8 ต่อ 5 คน; ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้คุณจะพบกับการดื่มไวน์และสไตล์แบบไม่รู้จบซึ่งเป็นที่รู้จักจากชาวฝรั่งเศส ทางตะวันออกเฉียงใต้ ทางตอนใต้ของเทือกเขาแอลป์ แสงอาทิตย์ส่องให้ความอบอุ่นแก่ผู้จิบคาปูชิโน่ที่เดินเตร่อยู่ในพลาซ่าสไตล์อิตาลี และตรงกลาง: อัลฟรอนแบบสวิสคลาสสิกและทิวทัศน์ภูเขา การรวมเข้าด้วยกันเป็นความคิดของชาวสวิสที่แตกต่างกัน
Visa requirements | คนไทยต้องขอวีซ่าท่องเที่ยว เพื่อเข้าสวิส |
---|---|
Languages spoken | Germany, France, Italy, English |
Currency used | Swiss Frank |
Country name | Switzerland |
เมื่อ 10,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช พวกกลุ่มนักล่าสัตว์และกลุ่มคนเร่ร่อนได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่อาศัยในเขตทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ (Alp) ซึ่งในปัจจุบันก็คือพื้นที่บริเวณ Graubünden ใจกลางประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นครั้งแรก[47] ต่อมาก็ได้มีการขยายอาณาเขตออกไปเรื่อย ๆ ตามพื้นที่บริเวณลุ่มทะเลสาบต่าง ๆ จนกระทั่งเมื่อประมาณ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราชชนเผ่าเคลต์ (Celt คือกลุ่มชนชาติที่พูดภาษากลุ่มเคลต์) ได้เริ่มย้ายถิ่นฐานจากทางเยอรมนีตอนใต้ เข้าไปสู่พื้นที่ลุ่มทะเลสาบในตอนกลางของประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพิ่มมากขึ้น โดยทางด้านตะวันออกของสวิตเซอร์แลนด์เป็นที่อยู่อาศัยของพวก Raetia ส่วนทางด้านตะวันตกถูกครอบครองโดยชาว Helvetii นอกจากนั้นก็ยังมีชนเผ่าอื่น ๆ ที่กระจัดกระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกเป็นจำนวนมาก คือ ชนเผ่า Lepontier ทางแคว้น Tessin ชนเผ่า Seduner ในเขต Wallis และทะเลสาบเจนีวา ต่อมาเมื่อเข้าสู่ยุครุ่งเรืองของอาณาจักรโรมันในประมาณ 58 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชนเผ่าโรมันภายใต้การนำของจูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ได้เข้าโจมตีและยึดดินแดนของชนเผ่า Helvetii และดินแดนส่วนอื่น ๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมัน ช่วงนี้เองที่ได้เริ่มที่การก่อสร้างถนนหนทางและระบบผังเมืองขึ้นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ขึ้นเป็นครั้งแรก เช่น ในบริเวณเมืองบาเซิล, คูร์, เจนีวา, ซือริช ในปัจจุบัน โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง Avenches ในช่วงปลายของยุคสมัยโรมัน ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 4 ถึง 6 ศาสนาคริสต์ได้เผยแผ่เข้ามาในเขตประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทำให้ได้มีการตั้งตำแหน่งบิชอป ขึ้นตามเมืองต่าง ๆ และเชื่อกันว่าอาณาจักรโรมันก็ล่มสลายลงในช่วงนี้เอง หลังจากที่อาณาจักรโรมันค่อย ๆ เริ่มเสื่อมลง พวกชาวเยอรมันเผ่าต่าง ๆ ก็อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเข้ามาในเขตนี้แทน โดยชนเผ่าเบอร์กันดี เข้ามายึดครองบริเวณทางแถบ Jura ทางตอนเหนือของเทือกเขาแอลป์ บริเวณแม่น้ำโรน และทะเลสาบเจนีวา ส่วนพวกอลามานนิค ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำไรน์ (Rhein) ส่วนการเผยแผ่ศาสนาก็ยังคงมีอยู่เรื่อย ๆ โดยพระนักสอนศาสนาเข้ามามีบทบาทสำคัญในเขตเมืองต่าง ๆ รวมทั้งยังมีการสร้างวัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมืองซังคท์กัลเลิน และ ซือริช เมื่อเริ่มเข้าสู่ยุคโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire ซึ่งอาณาจักรนี้เป็นอาณาจักรของจักรรรดิชาร์ลมาญแห่งเยอรมันหรือเรียกว่าเป็นอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งชนชาติเยอรมัน ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาณาจักรโรมันในสมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์แต่อย่างใด) ก็ได้มีการนำระบบกฎหมายต่าง ๆ เข้ามาใช้ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีการร่างสนธิสัญญาเวอร์ดัน ขึ้นใน ค.ศ. 834 โดยพื้นที่บริเวณตะวันตกของสวิตเซอร์แลนด์ (Burgundain) ตกอยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์โลทาร์ที่ 1 และทางด้านตะวันออก (Alamannic) อยู่ภายใต้การปกครองของกษัตริย์ลุดวิจชาวเยอรมัน ในศตวรรษที่ 10 เมื่อระบบการปกครองแบบใช้กฎหมายเสื่อมลง พวกชนเผ่าแมกยาร์ (Magyar) ก็เข้ามาทำลายเมืองใหญ่ต่าง ๆ ของเผ่าเบอร์กันดี และ อลามันนิค แต่ต่อมาเมื่อกษัตริย์ออตโตที่ 1 ทำสงครามชนะพวกชนเผ่าแมกยาร์ใน ค.ศ. 955 ก็มีการรวมพื้นที่บริเวณของ 2 ชนเผ่าเข้าด้วยกันเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อีกครั้ง และยังได้มีการรวบรวมแคว้นต่าง ๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ อาณาจักรนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค (Habsburg dynasty) ไปจนกระทั่งกษัตริย์รูดอล์ฟ ที่ 1 แห่งราชวงศ์ฮาพส์บวร์คสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 1291
ช่วงที่ถือได้ว่าเป็นช่วงของการก่อตั้งประเทศสวิตเซอร์แลนด์หรือสมาพันธรัฐสวิสอย่างเป็นทางการเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 1291 เมื่อรัฐ 3 รัฐในเขตเทือกเขาแอลป์ คือ Uri, Schwyz และ Unterwalden ได้รวมตัวกันขึ้นเป็นอดีตสมาพันธรัฐสวิส (Old Swiss Conferderation หรือที่เรียกเป็นภาษาเยอรมันว่า Alte Eidgenossenschaft) ซึ่งการรวมกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นไปเพื่อต้องการแยกออกเป็นประเทศ แต่เพียงเพื่อต้องการจะต่อต้านอำนาจของราชวงศ์ฮับส์บวร์ก อย่างไรก็ตามการรวมกลุ่มครั้งนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากราชวงศ์ฮับส์บวร์กและมีการทำสงครามกันเรื่อยมา ในปี1315 กลุ่มของชาวบ้านที่เป็นทหารของสวิสในสมัยนั้นก็ทำสงครามชนะทหารของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คในสงคราม Morgaten หลังจากนั้นเมือง Zürich, Lucerne, Glarus, Zug และ Bern ก็ได้เข้าร่วมเป็นอดีตสมาพันธรัฐสวิส และได้มีการเรียกชื่อกลุ่มการรวมตัวของรัฐ 8 รัฐนี้ว่า Schwyz ภายหลังจากการรวมตัวนี้แล้ว ก็ยังคงมีการรวมตัวของรัฐต่าง ๆ อยู่เรื่อย ๆ จนเมื่อสิ้นสุด ค.ศ. 1513 ก็มีรัฐเข้าร่วมทั้งหมด 13 รัฐ ภายหลังจากที่มีการรวมตัวกันใน ค.ศ. 1513 แล้ว ก็ยังคงมีการทำสงครามกันภายในพื้นที่ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปัจุจบันอยู่เรื่อย ๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นสงครามทางศาสนา แต่สงครามที่ยาวนานที่สุด คือ สงคราม 30 ปี (Thirty Years´War ค.ศ. 1618-48) ซึ่งในช่วงแรกของสงครามนี้เป็นสงครามระหว่างศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิกกับโปรแตสแตนท์ แต่ต่อมาสงครามได้ขยายวงกว้างไปเป็นสงครามการขยายอำนาจภายในทวีปยุโรป สงคราม 30 ปีสิ้นสุดลงเมื่อมีการประกาศสันติภาพ Peace of Westphalia และสืบเนื่องมาจาก Peace of Westphalia นี้เอง ประเทศสมาพันธรัฐสวิตเซอร์แลนด์ประกาศแยกตัวออกจากอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์อย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1648 ในยุคที่ราชวงศ์ของฝรั่งเศสเริ่มเข้ามามีบทบาทในประวัติศาสตร์ยุโรป กองทัพของนโปเลียน (Napolean Bonaparte) ก็เข้าครอบครองสวิตเซอร์แลนด์และสถาปนาเป็นสาธารณรัฐเฮลเวติก ใน ค.ศ. 1798 ทำให้ดินแดนของสวิตเซอร์แลนด์ถูกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ต่อมาใน ค.ศ. 1803 ภายใต้การปกครองของนโปเลียนได้มีการรวบรวมรัฐต่าง ๆ ในสมาพันธรัฐสวิสอีกครั้งนอกจากนั้นยังได้สถาปนาเขต 6 เขต คือ ขึ้นเป็นรัฐใหม่ ใน ค.ศ. 1815 ได้มีการสถาปนาสมาพันธรัฐสวิสขึ้นมาใหม่ ที่คองเกรสแห่งเวียนนา (Congress of Vienna) ขึ้น โดยมีการเพิ่มจำนวนรัฐเข้าไปอีก 3 รัฐ ในคองเกรสนี้เองได้มีการลงนามให้ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นประเทศที่เป็นกลางทางการเมือง คือเป็นการประกาศว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะเป็นเส้นแบ่งเขตแดนไม่ให้มีการทำสงครามกันระหว่างฝรั่งเศส เยอรมนี และออสเตรีย และได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 1848 (Fereral Constitution) ซึ่งในรัฐธรรมนูญระบุให้เมือง Bern เป็นเมืองหลวงของสมาพันธรัฐ โดยมีภาษาที่ใช้เป็นภาษาทางการ 3 ภาษา คือ ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอิตาลี
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้วางตัวเป็นกลางทางด้านการทหาร บทบาทสำคัญเพียงอย่างเดียวของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็คือการส่งสภากาชาดเข้ามาช่วยเหลือ เมื่อสงครามโลกผ่านพ้นไป กลิ่นอายแห่งสงครามกลับทำให้เศรษฐกิจของสวิตเซอร์แลนด์ตกต่ำลง และเริ่มฟื้นฟูขึ้นใหม่ในช่วง ค.ศ. 1930 ยุคนี้ยังเป็นยุคแห่งการถือกำเนิดของศิลปินชื่อดังอีกด้วย ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 นครเจนีวาได้กลายเป็นที่ตั้งของสันนิบาตชาติ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึงแม้ว่าประเทศสวิตเซอร์แลนด์จะวางตัวเป็นกลาง นาซีเยอรมนีได้วางแผนที่จะยึดประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อเส้นทางในเทือกเขาแอลป์ระหว่างเยอรมนี-อิตาลี แต่ทางสวิตเซอร์แลนด์ได้ตักเตือนว่า ถ้ากองทัพเยอรมันบุกเข้ามายังสวิตเซอร์แลนด์ ประชาชนทั้งหมดจะลุกขึ้นต่อต้านอย่างถึงที่สุดเพราะประชาชนชาวสวิตนั้นได้เป็นทหารกันหมดแล้วและพร้อมจะระดมพลได้ทุกเมื่อ นอกจากนั้นจะระเบิดทำลายถนนเส้นทางอีกด้วย จึงทำให้นาซีเยอรมันต้องยกเลิกโจมตีไปทำให้สวิตเซอร์แลนด์สามารถรักษาความเป็นกลางและเอกราชไว้ได้ตลอดมาในสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่สวิตเซอร์แลนด์กลับมีบทบาทสำคัญในทางด้านเศรษฐกิจในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง คือธนาคารของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้กลายเป็นสถานที่เพื่อใช้แลกเปลี่ยนเงินผิดกฎหมายของพวกนาซีเยอรมัน ครั้งหนึ่ง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เคยมีความพยายามที่จะส่งกองทัพเยอรมันบุกสวิตเซอร์แลนด์ แม้สวิตเซอร์แลนด์จะประกาศความเป็นกลางมาหลายร้อยปีแล้วก็ตาม ปฏิบัติการดังกล่าว เรียกกันว่า Operation Tannenbaum มีความพยายามตั้งแต่ ค.ศ. 1940-1944 แต่ไม่เคยมีการบุกจริง มีเพียงความเห็นของฝั่งเยอรมนีที่มองว่า ระบอบการเมืองของสวิตเซอร์แลนด์ เป็นพวกอนาธิปไตยที่น่ารังเกียจ และพวกเขาคืออีกหนึ่งศัตรูที่แท้จริงของเยอรมนี เป็นสิวเสี้ยนบนใบหน้าของยุโรป และพวกเขาลืมไปแล้วพวกเขาคือส่วนหนึ่งของเรา (ชนเชื้อสายเยอรมันเป็นหนึ่งในเชื้อสายสำคัญของชาวสวิตเซอร์แลนด์) ในความเป็นจริง สวิตเซอร์แลนด์ก็มีการเตรียมรับมือกับเยอรมนีเช่นกัน เห็นได้จากค่าใช้จ่ายทางการทหารที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ภายหลังจากที่นาซีขึ้นครองอำนาจในเยอรมนีแล้วจาก 15 ล้านฟรังค์ เป็น 90 ล้านฟรังค์ อย่างไรก็ตาม การรบไม่เคยเกิดขึ้นจริง เนื่องจากสภาพภูมิประเทศในสวิตเซอร์แลนด์ที่ยากต่อการส่งกำลังรบ รวมทั้งความวุ่นวายในแนวรบอื่น ๆ อีกทั้งความไม่แน่นอนของอิตาลี ซึ่งต่อมาถูกกองกำลังสัมพันธมิตรบุกโจมตีจากทางใต้ ทำให้แผนการ Tannenbaum ถูกยกเลิกไปในที่สุด
ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1945 ได้มีการก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ ขึ้น โดยมีสำนักงานใหญ่ที่สหรัฐอเมริกา และสำนักงานภาคพื้นยุโรปที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (ในอาคารที่เคยเป็นที่ตั้งของ สันนิบาตชาติ เดิม) ประเทศหลายประเทศได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาติแต่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นเจ้าบ้านกลับไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในสมัยแรก เนื่องจากสวิตเซอร์แลนด์ยืนยันยึดมั่นในหลักการความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด โดยองค์การสากลแห่งแรกที่สวิสเข้าร่วมเป็นสมาชิกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือองค์การ UNESCO ซึ่งเข้าร่วมใน ค.ศ. 1948 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเมื่อ ค.ศ. 2002 ต่อมาใน ค.ศ. 2005 ประชาชนชาวสวิตเซอร์แลนด์ได้ลงประชามติเพื่อให้ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เข้าร่วมเป็นประเทศในสนธิสัญญาเช็งเก็น (Schengen Agreement) ตามข้อกำหนดในสนธิสัญญาเช็งเก็น นักท่องเที่ยวที่มีใบอนุญาตเช็งเก็น (Schengen Visa) แบบมัลติเพิลของประเทศใดประเทศหนึ่งซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มเช็งเก็นสามารถเดินทางเข้าออกประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มเช็งเก็นได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าของประเทศนั้น ๆ ปัจจุบันประเทศในกลุ่มเช็งเก็นมีด้วยกันทั้งหมด 27 ประเทศรวมทั้ง ประเทศเบลเยียม, ประเทศฝรั่งเศส, ประเทศอิตาลี, ประเทศลักเซมเบิร์ก, ประเทศเนเธอร์แลนด์, ประเทศเดนมาร์ก, ประเทศกรีซ, ประเทศโปรตุเกส, ประเทศสเปน, ประเทศเยอรมนี, ประเทศออสเตรีย, ประเทศฟินแลนด์, ประเทศสวีเดน, ประเทศนอร์เวย์, ประเทศไอซ์แลนด์, ประเทศมอลตา, สาธารณรัฐเช็ก, ประเทศเอสโตเนีย, ประเทศฮังการี, ประเทศโปแลนด์, ประเทศสโลวาเกีย, ประเทศสโลวีเนีย, ประเทศลัตเวีย, ประเทศลิทัวเนีย ประเทศโมนาโก และ ประเทศโครเอเชีย
ชื่อประเทศสวิตเซอร์แลนด์ Switzerland ในภาษาอังกฤษเกิดจากการควบคำว่า Switzer ซึ่งเป็นคำเก่าแก่ที่ใช้เรียกชาวสวิสระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 เข้ากับคำว่า land จึงมีความหมายตรงตัวว่า “ดินแดนแห่งชาวสวิส” ส่วนคำคุณศัพท์ Swiss ในภาษาอังกฤษเป็นคำยืมจากคำภาษาฝรั่งเศสว่า Suisse ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 เช่นกัน คำว่า Switzer มาจากคำในภาษาถิ่นของเยอรมนีว่า Schwiizer ซึ่งใช้หมายถึงบุคคลที่มาจากเมืองชวีทซ์ เมืองหลวงของรัฐชวีทซ์ในสวิตเซอร์แลนด์และภูมิภาคใกล้เคียงซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของสมาพันธรัฐสวิสเก่า ชาวสวิสเริ่มใช้ชื่อดังกล่าวเรียกตนเองภายหลังสงครามสเวเบียในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยใช้ร่วมกับศัพท์ Eidgenossen ซึ่งหมายถึง “สมาพันธรัฐ” รหัสข้อมูลของประเทศของสวิตเซอร์แลนด์ (ตัว CH) ย่อมาจากวลี Confoederatio Helvetica ในภาษาละติน (แปลว่า “สมาพันธรัฐเฮลเวติก”)
ภูมินาม Schwyz ปรากฏหลักฐานยืนยันการใช้เป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 972 ในรูปสะกด Suittes ในภาษาเยอรมันสูงเก่า ซึ่งอาจเกี่ยวข้องคำว่า swedan ซึ่งแปลว่า “เผา” (เทียบนอร์สเก่า svíða “เผา”) ซึ่งหมายถึงพื้นที่ป่าที่ถูกเผาทำลายเพื่อสร้างเมืองใหม่ ในช่วงแรก ชื่อ Schwyz นี้ใช้เพื่อสื่อถึงพื้นที่ที่รัฐดังกล่าวมีอำนาจปกครอง และหลังจากสงครามสเวเบียใน ค.ศ. 1499 ก็เริ่มมีการนำมาใช้เพื่อกล่าวถึงดินแดนทั้งหมดของสมาพันธ์[40] ชื่อประเทศในภาษาเยอรมันแบบสวิสว่า Schwiiz มีเสียงพ้องกับชื่อของรัฐชวีทซ์และเมืองหลวง จึงต้องแยกให้ต่างกันโดยใช้คำกำกับนามชี้เฉพาะ (เรียกสมาพันธ์ทั้งมวลว่า d’Schwiiz และเรียกรัฐและเมืองชวีทซ์ว่า Schwyz)
ชื่อประเทศในภาษาละตินว่า Confoederatio Helvetica เป็นคำสร้างใหม่และเริ่มมีการนำมาใช้ภายหลังการก่อตั้งสมาพันธรัฐใน ค.ศ. 1848 ซึ่งมีประวัติสืบไปถึงสมัยของสาธารณรัฐเฮลเวติกซึ่งถือเป็น “สาธารณรัฐพี่น้อง” ของฝรั่งเศสในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในช่วงระหว่างสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส โดยคำว่า Helvetica มาจากคำว่า Helvetii ซึ่งเป็นชื่อเรียกชนเผ่ากอลเก่าแก่ที่อาศัยอยู่บริเวณที่ราบสูงสวิสก่อนสมัยจักรวรรดิโรมัน
แฮ็ลเวติอา (Helvetia) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า โกงฟ็อยแดราติโอแฮ็ลเวติกา เป็นชื่อสตรีซึ่งเปรียบเสมือนบุคลาธิษฐานของชาติ มีที่มาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยโยฮัน คัสพาร์ ไวเซินบัค ในอุปมานิทัศน์มักบรรยายถึงลักษณะของแฮ็ลเวติอาว่ามักสวมชุดยาว ถือหอกและโล่ที่ประดับด้วยธงชาติสวิส และไว้ผมถักเปีย
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
ยอมรับทั้งหมด