มาเริ่มต้นทำความรู้จักของ การท่องเที่ยว ในฐานะเป็นบุคลากรคนหนึ่งที่ประกอบอาชีพทางด้านนี้มาตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย ซึ่งก็ไม่เคยคิดว่าจะได้มาประกอบอาชีพนี้ตั้งแต่แรก แต่แท้ที่จริงแล้วตัวตนของเรา คำว่าใช่ในการใช้ชีวิต มันถูกออกแบบมาตั้งครั้ง ทำกิจกรรมตั้งเรียนระดับชั้นประถมมาด้วยซ้ำ หากเราย้อนกลับไปในช่วงนั้น โรงเรียนจะมีการนำนักเรียนไปทัศนาจร เด็กๆก็จะมีความสุขขึ้นมาทันที
การท่องเที่ยว หมายถึงการเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจหรือเพื่อความสนุกสนานตื่นเต้นหรือเพื่อหาความรู้ โดยองค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (อังกฤษ: World Tourism OrganizationUnited Nations World Tourism Organization: UNWTO) กำหนดไว้ว่า การท่องเที่ยวหมายถึงการเดินทาง โดยระยะทางมากกว่า 40 กิโลเมตรจากบ้าน เพื่อจุดประสงค์ในการพักผ่อนหย่อนใจ
- การท่องเที่ยวเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไร?
- ประเภทการท่องเที่ยว
- 1. รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ (์Natural based tourism) ประกอบด้วย
- 2. รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม (Cultural based tourism) ประกอบด้วย
- 3. รูปแบบการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ (Special interest tourism) ประกอบด้วย
- 3.1 การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health tourism)
- 3.2 การท่องเที่ยวเชิงทัศนศึกษาและศาสนา (Edu-meditation tourism)
- 3.3 การท่องเที่ยวเพื่อศึกษากลุ่มชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรมกลุ่มน้อย (Ethnic tourism)
- 3.4 การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sports tourism)
- 3.5 การท่องเที่ยวแบบผจญภัย (Adventure travel)
- 3.6 การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์และฟาร์มสเตย์ (Home stay & farm stay)
- 3.7 การท่องเที่ยวพำนักระยะยาว (Long stay)
- 3.8 การท่องเที่ยวแบบให้รางวัล (Incentive travel)
- 3.9 การท่องเที่ยวเพื่อการประชุม (MICE หมายถึง M=meeting/I= incentive/ C=conference / E=exhibition)
- 3.10 การท่องเที่ยวแบบผสมผสาน
- ธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศเริ่มกันเมื่อไหร่?
- การท่องเที่ยวกับสถาบันการท่องเที่ยว
- ความหมายของการท่องเที่ยวในประเทศไทย
- ความหมายของนักท่องเที่ยว
- ลักษณะของนักท่องเที่ยว
- องค์ประกอบสำคัญในการท่องเที่ยว สำหรับแหล่งท่องเที่ยว
- ธุรกิจอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
- บทสรุปของ การท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไร?
มนุษย์ในโลกนี้เกิดมาก็มาการเคลื่อนย้ายไปมาในผืนแผ่นดินของโลกใบนี้ ให้นึกถึงในยุคโบราณ มนุษย์อาจต้องเดินทางเพื่อหาอาหาร หนีภัยธรรมชาติ ไปประกอบพิธีกรรมความเชื่อ โดยอาศัยเส้นทางธรรมชาติ ทางบกซึ่งง่ายที่สุดซึ่งอาจใช้สัตว์เลี้ยงเป็นพาหนะ ทางน้ำก็เดินทางตามกระแสน้ำไหล โดยทำยานพาหนะ เช่น ซุง แพ เรือ โดยใช้สิ่งของที่มีอยู่รอบข้าง และมีการพัฒนาต่อเนื่องในมนุษย์ เกิดชุมชน ตลาด สังคม เกิดการแลกเปลี่ยนปัจจัย 4 การซื้อขาย เกิดสกุลเงิน ซึ่งจะว่าไปแล้ว ก่อนยุคประวัติศาสตร์คงจะไม่ผิด และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ผู้คนสามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้ง่าย ใช้เวลาสั้นลงด้วยวิทยาการเทคโนโลยี่ได้ถูกพัฒนา ซึ่งนับจากในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมในทวีปยุโรป การเดินทางค้นพบทวีปต่างๆ ของโคลัมบัส การเดินทางเส้นทางสายไหม ของ มาร์โค โปโล ทำให้การเดินทางรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เพื่อแสวงหาประสบการณ์ ความตื่นเต้น กับดินแดนแห่งใหม่ การฉกฉวยแย่งชิงเริ่มเกิดขึ้น การผลิตอาวุธเพื่อการป้องกันตนเอง หรือจากผู้รุกรานก็เกิดขึ้น เมื่อเกิดศาสนาใดสาสนาหนึ่งเกิดขึ้น ยอมมีการเดินทางย้ายจากถิ่นฐานไปยังอีกถิ่นฐานหนึ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านพิธีกรรม การเผยแพร่ การเดินทางเพื่อล่าอาณานิคมก็เกิดขึ้น
จนถึงยุคของการฟิ้นฟูศิลปะวิวัฒนาการ ทำให้เกิดการเรียนรู้ สถาบันการศึกษา จึงเกิดการเดินทางเพื่อเพิ่มองค์ความรู้ของคนตั้งยุคนั้นมา จนกระทั่งเกิดสงครามการกระทบกระทั่งกันในชนเผ่าต่างๆ สงครามคร่าชีวิตมนุษย์ ทำให้ผู้คนเดินทางหนีสงครามก็มีมากมาย เกิดสงครามครั้งที่ 1 ต่อด้วยสงครามครั้งที่ 2 ในช่วงนี้การเดินทาง การท่องเที่ยวหยุดชะงัก หรือชลอตัวลง จากเหตุการณ์ไม่สงบ ภาวะการขาดแคลนการเงิน เศรษฐกิจชะลอตัว จนเข้าสู่ใยุค ศตวรรษที่ 20 ยุคแห่งสงครามเย็น การสู้รบสงครามมีน้อยลง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถูกฟื้นฟู และเฟื่องฟูมากขึ้น และทำให้หลายๆประเทศนำเอานโยบายการท่องเที่ยวมาเป็นรายได้หลัก ซึ่งโดยนำจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวหลายๆอย่าง อาทิเช่น ธรรมชาติที่หาที่อื่นไม่มี วัฒนธรรมดีๆ เทศกาลประเพณีที่ลำ้ค่า การประชุมนานาชาติ การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ เริ่มสร้างรายได้กลับมของประเทศ
สำหรับการท่องเที่ยวในประเทศไทยได้มีพัฒนาการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2467 สมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ครั้งทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการรถไฟ ซึ่งในครั้งนั้นการท่องเที่ยวในประเทศไทย ยังเป็นการท่องเที่ยวเพื่อชมธรรมชาติและสถานที่ราชการ หรือสถานที่สำคัญที่ชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทยสร้างขึ้น
แต่เมื่อไม่นานมานี้ทางองค์การการท่องเที่ยวโลก (www.unwto.org) ได้มีการกำหนดรูปแบบการท่องเที่ยวเป็น 3 รูปแบบหลัก ไว้ให้ชัดเจนและเข้าใจง่ายขึ้น ได้แก่
- รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ (Natural based tourism)
- รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม (Cultural based tourism)
- รูปแบบการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ (Special interest tourism)
ประเภทการท่องเที่ยว
1. รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ (์Natural based tourism) ประกอบด้วย
1.1 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism)
หมายถึงการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นและแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวของภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่นเพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน
1.2 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล (Marine ecotourism)
หมายถึงการท่องเที่ยว อย่างมีความรับผิดชอบในแหล่งธรรมชาติทางทะเลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศทางทะเล โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวของภายใต ้ การจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อมุ่งให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอยางยั้งยืน
1.3 การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา (Geo-tourism)
หมายถึงการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่เป็น หินผา ลานหินทราย อุโมงค์โพรง ถ้ำน้ำลอด ถ้ำหินงอกหินย้อย เพื่อดูความงามของภูมิทัศน์ที่มีความแปลกของการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่โลก ศึกษาธรรมชาติของหิน ดิน แร่ต่างๆ และฟอสซิล ได้ความรู้ได้มีประสบการณ์ใหม่ บนพื้นฐานการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อม โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยว
1.4 การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agro tourism)
หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยวไปยังพื้นที่เกษตรกรรมสวนเกษตร วนเกษตร สวนสมุนไพร ฟาร์มปศุสัตว์และเลี้ยงสัตว์เพื่อชื่นชมความสวยงาม ความสำเร็จและเพลิดเพลินในสวนเกษตร ได้ความรู้มีประสบการณ์ใหม่บนพื้นฐานความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมของสถานที่แห่งนั้น
1.5 การท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ (Astrological tourism)
หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อการไปชมปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวาระ เช่น สุริยุปราคา ฝนดาวตก จันทรุปราคา และการดูดาวจักราศีที่ปรากฏในท้องฟ้าแต่ละเดือน เพื่อการเรียนรู้ระบบสุริยะจักรวาล มีความรู้ความประทับใจ ความทรงจำและประสบการณ์เพิ่มขึ้น บนพื้นฐานการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบมีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการร่วมกันอย่างยั่งยืน
2. รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม (Cultural based tourism) ประกอบด้วย
2.1 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (Historical tourism)
หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ เพื่อชื่นชมและเพลิดเพลินในสถานที่ท่องเที่ยวได้ความรู้มีความเข้าใจต่อประวัติศาสตร์และโบราณคดี ในท้องถิ่นพื้นฐานของความรับผิดชอบและมีจิตสำนึกต่อการรักษามรดกทางวัฒนธรรมและคุณค่า ของสภาพแวดลอมโดยที่ประชาชนในท้องถิ่น มีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยว
2.2 การท่องเที่ยวชมวัฒนธรรมและประเพณี (Cultural and traditional tourism)
หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยว เพื่อชมงานประเพณีต่างๆ ที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นๆ จัดขึ้น ได้รับความเพลิดเพลินตื่นตาตื่นใจในสุนทรียะศิลป์เพื่อศึกษาความเชื่อ การยอมรับนับถือ การเคารพพิธีกรรมต่างๆ และมีความเข้าใจต่อสภาพสังคมและวัฒนธรรม มีประสบการณ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นบนพื้นฐานของความรับผิดชอบและมีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมและมรดกทางวัฒนธรรม โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการท่องเที่ยว
2.3 การท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตในชนบท (Rural tourism / village tourism)
หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยวในหมู่บ้าน ชนบทที่มีลักษณะวิถีชีวิต และผลงานสร้างสรรค์ที่มีเอกลักษณ์พิเศษมีความโดดเด่นเพื่อความเพลิดเพลินได้ความรู้ดูผลงานสร้างสรรค์และภูมิปัญญาพื้นบ้าน มีความเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น บนพื้นฐานของความรับผิดชอบและมีจิตสำนึกต่อการรักษามรดกทางวัฒนธรรมและคุณค่าของสภาพแวดล้อม โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยว
3. รูปแบบการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ (Special interest tourism) ประกอบด้วย
3.1 การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health tourism)
หมายถึงการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติและแหล่งวัฒนธรรมเพื่อการพักผ่อนและเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพกายใจได้รับความเพลิดเพลิน และสุนทรียภาพ มีความรู้ต่อการรักษาคุณค่า และคุณภาพชีวิตที่ดี มีจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน อนึ่ง การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนี้บางแห่งอาจจัดรูปแบบเป็นการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพและความงาม (health beauty and spa)
3.2 การท่องเที่ยวเชิงทัศนศึกษาและศาสนา (Edu-meditation tourism)
หมายถึง การเดินทางเพื่อทัศนศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากปรัชญาทางศาสนา หาความรู้ สัจธรรมแห่งชีวิตมีการฝึกทำสมาธิเพื่อให้มีประสบการณ์และความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น มีคุณค่าและคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้นมีจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน นอกจากนั้น นักท่องเที่ยวบางกลุ่มมุ่งการเรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย เช่น การทำอาหารไทย การนวดแผนไทย รำไทย มวยไทย การช่างและงานศิลปหัตถกรรมไทย รวมถึงการบังคับช้างและเป็นควาญช้าง เป็นต้น
3.3 การท่องเที่ยวเพื่อศึกษากลุ่มชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรมกลุ่มน้อย (Ethnic tourism)
หมายถึง การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่วัฒนธรรมของชาวบ้าน วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยหรือชนเผ่าต่าง ๆ เช่น หมู่บ้านชาวไทยโซ่ง หมู่บ้านผู้ไทย หมู่บ้านชาวกูย หมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านชาวจีนฮ่อ เป็นต้น เพื่อมีประสบการณ์และความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นมีคุณค่าและคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้นมีจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดลอมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
3.4 การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sports tourism)
หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเล่นกีฬาตามความถนัดความสนใจ ในประเภทกีฬา เช่น กอล์ฟ ดำน้ำ ตกปลา สนุกเกอร์ กระดานโตคลื่น สกีนํ้า เป็นต้น ให้ได้รับความเพลิดเพลินความสนุกสนานตื่นเต้น ได้รับประสบการณ์และความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น มีคุณค่าและคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้น มีจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดลอมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
3.5 การท่องเที่ยวแบบผจญภัย (Adventure travel)
หมายถึง การเดินทางท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีลักษณะพิเศษ ที่นักท่องเที่ยวเขาไปเที่ยวแล้วได้รับความสนุกสนานตื่นเต้น หวาดเสียว ผจญภัย มีความทรงจำ ความปลอดภัย และได้ประสบการณ์ใหม่
3.6 การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์และฟาร์มสเตย์ (Home stay & farm stay)
หมายถึง นักท่องเที่ยวกลุ่มที่ต้องการใช้ชีวิตใกล้ชิดกับครอบครัวในท้องถิ่นที่ไปเยือนเพื่อการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้รับประสบการณ์ในชีวิตเพิ่มขึ้น โดยมีจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นการจัดการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่นที่ยั่งยืน
3.7 การท่องเที่ยวพำนักระยะยาว (Long stay)
หมายถึง กลุ่มผู้ใช้ชีวิตในบั้นปลายหลังเกษียณอายุจากการทำงานที่ต้องการมาใช้ชีวิตต่างแดนเป็นหลัก เพื่อเพิ่มปัจจัยที่ห้าของชีวิตคือ การท่องเที่ยว โดยเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศเฉลี่ย 3 – 4 ครั้งต่อปี คราวละนาน ๆ อย่างน้อย 1 เดือน
3.8 การท่องเที่ยวแบบให้รางวัล (Incentive travel)
หมายถึงการจัดนำเที่ยวให้แก่กลุ่มลูกค้าของบริษัทที่ประสบความสำเร็จ (มีความเป็นเลิศ) ในการขายสินค้านั้นๆ ตามเป้าหมายหรือเกินเป้าหมาย เช่น กลุ่มผู้แทนบริษัทจำหน่ายรถยนต์ ผู้แทนบริษัทจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า ผู้แทนบริษัทจำหน่ายเครื่องสำอาง จากภูมิภาคหรือจังหวัดต่างๆ ที่สามารถขายสินค้าประเภทนั้นได้มากตามที่บริษัทผู้แทนจำหน่ายในประเทศตั้งเป้าหมายไว้เป็นการให้รางวัลและจัดนำเที่ยว โดยออกค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าพักแรมและค่าอาหารระหว่างการเดินทางให้กับผู้ร่วมเดินทาง เป็นการจัดรายการพักแรมตั้งแต่ 2 – 7 วัน เป็นรายการนำเที่ยวชมสถานท่องที่ต่างๆ อาจเป็นรายการนำเที่ยวแบบผสมผสาน หรือรายการนำเที่ยวในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
3.9 การท่องเที่ยวเพื่อการประชุม (MICE หมายถึง M=meeting/I= incentive/ C=conference / E=exhibition)
เป็นการจัดนำเที่ยวให้แก่กลุ่มลูกค้าของผู้ที่จัดประชุม มีรายการจัดนำเที่ยวก่อนการประชุม (pre-tour) และการจัดรายการนำเที่ยวหลังการประชุม (post-tour) โดยการจัดรายการท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ ไปทั่วประเทศ เพื่อบริการให้กับผู้เข้าร่วมประชุมโดยตรง หรือสำหรับผู้ที่ร่วมเดินทางกับผู้ประชุม (สามีหรือภรรยา) อาจเป็นรายการท่องเที่ยววันเดียว หรือรายการเที่ยวพักค้างแรม 2 – 4 วัน โดยคิดราคาแบบเหมารวมค่าอาหารและบริการท่องเที่ยว
3.10 การท่องเที่ยวแบบผสมผสาน
เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้จัดการการท่อง เที่ยวคัดสรรรูปแบบการท่องเที่ยวที่กล่าวมาแล้วข้างต้น นำมาจัดรายการนำเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความแตกต่างระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวในระยะยาวนานตั้งแต่ 2 – 7 วันหรือมากกว่านั้นเช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเกษตร (eco–agro tourism) การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและประวัติศาสตร์ (agro-historical tourism) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัย (eco-adventure travel) การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาและประวัติศาสตร์ (geo- historical tourism) การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม (agro-cultural tourism) เป็นต้น
นอกจากนี้ในปัจจุบัน การท่องเที่ยวได้พิจารณาจากความต้องการหรือพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเพิ่มเติมทำให้มีรูปแบบการท่องเที่ยวที่มีแนวคิดใหม่ ขึ้นมาเช่น
- Muaythai Training tourism เป็นสิ่งที่ประเทศไทยมีที่เดียวที่สร้างชื่อเรื่องมวยไทยขึ้นมาและเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก ที่ต้องการความสำเร็จกับการเป็นนักชกมวยไทย หรือเพียงแค่เรียนระยะสั้นๆ ในระยะไม่กี่สัปดาห์ของการมาเที่ยว เพื่อได้ประสบการณ์กลับไป
- Green tourism ที่คนมาท่องเที่ยวจะต้องการอนุรักษ์ธรรมชาติหรือช่วยลดภาวะโลกร้อน เช่น การท่องเที่ยวในเกาะสมุย หรือ
- War tourism ที่นักท่องเที่ยวต้องการสัมผัสกับอดีตในสมัยสงคราม เช่น การท่องเที่ยวสะพานข้ามแม่นํ้าแคว จังหวัดกาญจนบุรีหรือ
- Volunteer tourism ที่นักท่องเที่ยวเป็นอาสาสมัครมาช่วยทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ในสถานที่และเดินทางท่องเที่ยวต่อ เช่น การที่มีอาสาสมัครมาช่วยงานสึนามิในประเทศไทย เป็นต้น
- Youtuber tourism อันนี้ผู้เขียนเพิ่มให้นะครับ จะเห็นกระแสของโลก มันเปลี่ยนไปแล้ว ในยุคนี้โซเชี่ยลเนตเวิร์ค มันเลยเปลี่ยนรูปแบบใหม่ไปตามกระแส การท่องเที่ยวปัจจุบันนี้สามารถทำรายได้ให้กับนักท่องเที่ยวอีกด้วย อย่างเช่น Youtuber ที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลกเดินทางมาประเทศไทย เพื่อต้องการ content การเที่ยวสงกรานต์ในประเทศไทย หลังจาก Covid-19 เป็นต้น
บทโดยสรุป การท่องเที่ยวในประเทศไทย มีหลากหลายขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเอง และขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม ผลของการท่องเที่ยวจะเกิดมิติในแง่บวกหรือลบ ขึ้นอยู่กับนักท่องเที่ยวว่ามีพฤติกรรมอย่างไร และการท่องเที่ยวไม่ได้ถูกจำกัดว่า “ไม่เกิดรายได้” อีกต่อไปแล้ว ปัจจุบันนี้รายได้จากยอดวิว Social Media รายได้จากการขายภาพ Digital ท่องเที่ยว ก็เป็นการสร้างรายได้ในรูปแบบใหม่ของยุคนี้
ธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศเริ่มกันเมื่อไหร่?
การท่องเที่ยวในประเทศไทยได้เริ่มจัดทำเป็นธุรกิจอย่างจิงจังเมือประมาณปี พ.ศ.2512 – 2517 ซึ่งทหารอเมริกันได้ทำสงคราม กับเวียดนามแล้วตั้งฐานทัพอยู่ที่ประเทศไทยเมื่อเสร็จภาระกิจแล้วก็จะได้หยุดพักผ่อน ทหารเหล่านั้นมักจะเดินทางมาเที่ยวกรุงเทพๆ แถวๆเพชรบุรีตัดใหม่ ซึ่งเฟื่องฟูมากอีกส่วนหนึ่งจะเดินทางไปเล่นน้ำทะเลที่ชายหาดพัทยาช่วงนี้เองได้มีการตั้ง บริษัทไดมอนโค้ช ซึ่ง ทางบริษัทได้นำรถปรับอากาศมาบริการขนส่งทหาร จากฐานทัพไปสู่แหล่งท่องเที่ยวต่างๆจากจุดเริ่มต้น ตรงนี้เองบริษัททัวร์รอยัลจึงมีความคิดในการจัดทัวร์แบบครบวงจรขึ้นมาโดยบริการนักท่องเที่ยวด้วยรถบัสปรับอากาศ จัดหาที่พัก อาหารอย่างดี มีมัคคุเทศก์ให้ บริการตลอดเวลาของการเดินทางท่องเที่ยวตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุด ของการเดิน
ทาง และการท่องเที่ยวแบบ นี้ได้รับความนิยม และแพร่หลายจนปัจจุบันวึ่งถือว่าการท่องเที่ยวไทยได้เริ่มกันอย่างจริง ๆ จังๆมีระยะเวลาในการพัฒนาการเพียงแค่ 20 กว่าปี และถือว่าได้พัฒนา รูปแบบการท่องเที่ยวได้อย่างรวดเร็วและ กว้างขวางจนน่าเป็นห่วง
การท่องเที่ยวกับสถาบันการท่องเที่ยว
ในปี พ.ศ. 2502 คณะปฏิวัติโดยการนำของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวจึงได้จัด องค์การอิสระขึ้นเรียกว่า “องค์การส่งเสิริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” (อ.ส.ท) และนับแต่นั้นมา อ.ส.ทก็ดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยว อย่างกว้างขวาง ก้าวหน้าได้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน
จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2522 อ.ส.ท ได้ยกฐานะขึ้นเป็น “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” (ท.ท.ท.) และได้ขยายเขตคุ้มครองของการปฏิบัติงานเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยวขึ้นอย่างกว้างขวาง
ความหมายของการท่องเที่ยวในประเทศไทย
เราใช้คำว่า “ไปเที่ยว” มาช้านานมีความหมายว่าไปไหนต่อไหนทั้งใกล้และไกล เพื่อความ สนุสนานเพลิดเพลินต่อมาประมาณ พ.ศ. 2480 รัฐมนตรีได้พิจารณาว่าคำว่า “ท่องเที่ยว” หรือ “เที่ยว” มีนัยไปใน ทางเที่ยวเตร่เหลวไหลจึงได้ให้นักปราชญ์ในสมัยนั้นคิดคำขึ้นใหม่ และได้คำว่า “ทัศนาจร” สำหรับการท่องเที่ยว และ “นักทัศนาจร” สำหรับนักท่องเที่ยว แต่ประเทศไทยก็ได้ใช้คำนี้กันอยู่พักหนึ่งแต่ไม่ค่อยนิยมแพร่หลายมากนักและ คำว่า “ท่องเที่ยว” ก็ ติดอยู่ใน ภาษาไทย จนถึงปัจจุบัน
และคำว่า “ท่องเที่ยว” ก็มิได้มีความหมายเช่นเดียวกับคำ “ไปเที่ยว” หรือเที่ยวแต่หากมีความหมายอย่างเป็นงานเป็นการอย่างหนึ่งโดยเฉพาะเป็นการปฏิบัติงานที่มีระบบ จนเรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมชนิดหนึ่งและเรื่องการท่องเที่ยวได้พัฒนาขึ้นเป็นวิชาการแขนง หนึ่งซึ่งต้องศึกษา กัน อย่างจริงกัน
ความหมายของนักท่องเที่ยว
การจัดจำพวกนักท่องเที่ยวได้แบ่งตามลักษณะของการท่องเที่ยวดังนี้
- Tourist หมายถึง นักท่องเที่ยวที่เดินทางจากที่พักอาศัยของตน ได้ไปพักแรกที่ไหนแห่งหนึ่งชั่วคาบเวลาหนึ่งเกิน 24 ชั่วโมง บางประเทศก็เรียกว่า Night visitor (มีการค้างคืนอย่างน้อย 1 คืน) แต่ไม่เกิน 90วัน เป็นการเดินทางโดยสมัครใจ ด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตามที่มิใช่การไปประกอบอาชีพ หรือหารายได้ทั้งนี้ ผู้โดยสารมาทางเรือสำราญทางทะเลแล้วไม่พักค้างคืนบนฝั่งไม่นับเป็น
- นักท่องเที่ยวจำแนกเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ หรือนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ(Foreign Tourists or International Tourists) หมายถึง นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย
- นักท่องเที่ยวภายในประเทศ (Domestic Tourists) หมายถึง นักท่องเที่ยวที่มีถิ่นที่อยู่หรือที่พำนักถาวรในประเทศไทยในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติที่พำนักอาศัยถาวรอยู่ในประเทศไทยก็ได้และมีการเดินทางท่องเที่ยวไปในจังหวัดอื่นๆ
- Excursionist หมายถึง นักท่องเที่ยวแบบเช้าไป เย็นกลับ หรือกลับมาถึงบ้าน ภายใน 24 ชั่วโมงโดยไม่พักแรม ณ ที่ใด บางประเทศก็เรียกว่า Day visitor
- Visitor หมายถึง ผู้มาเยือน มีความหมายอย่างเดียวกับ Tourist แต่เป็นคำที่ประเทศหนึ่งใช้เรียกนักท่องเที่ยวจากประเทศ อื่น ที่เข้ามาในประเทศของตนและบางทีก็เรียกว่า Foreign Visitor
ลักษณะของนักท่องเที่ยว
จัดจำพวกนักท่องเที่ยวตามภูมิศาสาตร์การเดินทาง ได้ดังนี้
- Domestic tourist (นักท่องเที่ยวโดเมสติก) หมายถึง นักท่องเที่ยวภายในประเทศนั่นเอง ที่กิน เที่ยวอยู่ในประเทศของตน จากบ้านของตนเอง ไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ทั่วประเทศไทย จับจ่ายใช้สอย เศรษฐกิจหมุนเวียนอยู่ภายในประเทศตนเอง ด้วยเงินสกุลของตนเอง
- Inbound tourist (นักท่องเที่ยวอินบาวน์) หมายถึง นักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวประเทศใดประเทศหนุ่ง โดยเข้ามาจับจ่ายใช้เงินของเขาเองจากสกุลเงินของแต่ละประเทศ ที่นำติดตัวมา หรือจ่ายเงินอิเลคทรอนิค ในระยะเวลาที่อยู่ภายในประเทศนั่น ซึ่งทำให้การหมุนเวียนเงินจากภายนอกเข้าสู่ภายใน นั่นเอง
- Outbound tourist (นักท่องเที่ยวเอาท์บาวน์) หมายถึง คนของประเทศหนึ่ง ออกเดินทางนอกราชณาจักรของตนเอง เพื่อไปท่องเที่ยว ด้วยวั๖ถุประสงค์ใดๆ ก็ตาม โดยใช้เงินสกุลของตนเอง ออกไป เพื่อนำไปใช้จ่ายยังนอกประเทศของตนเอง คือความหมาย เอาเงินออกไปใช้นอกประเทศนั่นเอง
ดังนั้น จึงสามารถให้คำนิยามของการท่องเที่ยวได้ว่า ” การท่องเที่ยว” คือ การเดินทางที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการ ชั่วคราว เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจและต้องเดินทางกลับที่เดิม
องค์ประกอบสำคัญในการท่องเที่ยว สำหรับแหล่งท่องเที่ยว
แน่ละครับยุคปัจจุบันนี้ ได้ถูกพัฒนาการ รวมกับองค์ความรู้ที่สะสมมา รวมถึงหัวใจของการบริการ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่พัฒนาอย่างก้าวหน้า รุดหน้ามากว้างขวาง
แหล่งท่องเที่ยวเป็นการผสมผสานระหว่างผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว ประสบการณ์และการนำเสนอทรัพยากรที่จับตัองไม่ได้อื่นๆ แก่ผู้บริโภค สิ่งสำคัญ คือแหล่งท่องเที่ยวเป็นสถานที่ซึ่งนักท่องเที่ยวจะเดินทางมาเยี่ยมชม หรือพักอาศัยนั่นเอง
Pike Steven (2008) กล่าวถึงคุณลักษณะของแหล่งท่องเที่ยวว่า
ดังนั้นแหล่งท่องเที่ยวควรประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ประการ (6A’s) ดังนี้
- ความสามารถในการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยว (Available Package)เป็นการจัดการท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวรู้สึกถึงความสะดวกรวดเร็ว รู้ถึงแหล่งท่องเที่ยว ในสถานที่ที่จะเดินทางไป เพื่อใหค้รอบคลุมกับวัตถุประสงคข์องการเดินทางท่องเที่ยว
- ความสามารถในการเข้าถึง (Accessibility) ได้แก่การมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม เช่น สนามบิน ระบบคมนาคม ตลอดจนบริการดา้นอุตสาหกรรมขนส่ง เช่น การขนส่งทางอากาศ ทางบกและทางน้ำ ซึ่งจะเอื้ออำนวยให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทาง หรือแหล่งท่องเที่ยว (Attraction) ได้อย่างสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยั
- สิ่งดึงดูดใจ (Attraction) นับเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญที่สุด เพราะเป็นจุดดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวอาจเป็นแหล่งธรรมชาติที่มีความโดนเด่น หรือแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
- สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) ได้แก่ โรงแรม รีสอร์ท และ โฮมสเตย์ Bed & Breakfast และ Guest House โดยที่พกัแรมประเภทต่างๆ จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกในระดับที่แตกต่างกันซึ่งจะทำให้มีราคา และบริการหลากหลายระดับที่แตกต่างกันอีกด้วย เช่น ภัตตาคาร บาร์ ฟิตเนสเซ็นเตอร์ สระว่ายน้ำ ซาวน่า และสิ่งอำนวยความสะดวก อื่นๆ เป็นตน้
- กิจกรรม (Activities) นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เช่นกันในยุคปัจจุบัน ซึ่งการท่องเที่ยวมิได้หมายเพียงแค่การเดินทางไปชมโบราณสถาน อนุสาวรีย์ความงดงามของป่าไม้ธรรมชาติหากความสำคัญสำหรับผู้มาเยือน คือการได้มีโอกาสทำกิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น การเดินป่า เพื่อศึกษาระบบนิเวศเขตเส้นศูนย์สูตรในป่าดิบชื้น การล่องแก่งในแม่น้ำ ของท้องถิ่น การปีนหน้าผา การดำ น้ำ รูปแบบ Scuba Diving หรือ Snorkeling การพายเรือแคนูบริเวณป่าชายเลน การตกปลาหมึกในทะเลลึก ตลอดจนการร่วมทา กิจกรรมกับชุมชนท้องถิ่น เช่น การไถนา การดำนา การเกี่ยวข้าว การร่วมพิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดจะเป็นประสบการณ์ที่อยู่ในความทรงจำของนักท่องเที่ยว และกิจกรรมดังกล่าวมักก่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น
- การให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว (Ancillary Service) ได้แก่ ทั้งหมดที่มีให้นักท่องเที่ยว อาทิเช่น บริการด้านร้านอาหาร โรงพยาบาล ไปรษณีย์ สถานีบริการน้ำมัน ร้านค้า ร้านขายของที่ระลึก ห้องสุขา เป็นต้น
สรุปได้ว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นแหล่งที่ช่วยกระตุ้นให้มีการนำ เอาทรัพยากรของประเทศไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งประกอบไปด้วยธุรกิจและการบริการ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยว องค์ประกอบสำคัญในการท่องเที่ยว สำหรับแหล่งท่องเที่ยวนั่น ควรมีองค์ประกอบหลัก 6 ประการ (6A’s) ได้แก่ ความสามารถในการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยว(Available Package), ความสามารถในการเข้าถึง (Accessibility), สิ่งดึงดูดใจ (Attraction) สิ่งอำนวยความสะดวก(Amenities), กิจกรรม (Activities), การให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว (Ancillary Service) และการจะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวนั้นให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด
หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนควรที่จะต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อสร้างความร่วมมือ ร่วมกันวางแผน และประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวด้วย
ธุรกิจอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ประกอบไปด้วย 6 ธุรกิจหลัก คือ
- ธุรกิจนำเที่ยว
- ธุรกิจที่พักแรม
- ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
- ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก
- ธุรกิจคมนาคมขนส่ง
- ธุรกิจนันทนาการและธุรกิจเพื่อความบันเทิง
1.ธุรกิจนำเที่ยว ในกฎกระทรวง พ.ศ.2536
ออกตามความในพระราช บัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2535 ได้แบ่งธุรกิจนำเที่ยวออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
- ธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ คือ การประกอบธุรกิจนำเที่ยวไปยังสถานที่หนึ่งสถานที่ใด ในจังหวัดหนึ่งจังหวัดใด และจังหวัดที่มีเขตพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดนั้น
- ธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ คือ การประกอบธุรกิจนำเที่ยวไปยังสถานที่หนึ่งสถานที่ใด ภายในราชอาณาจักรไทย
- ธุรกิจนาเที่ยวต่างประเทศ คือ การประกอบธุรกิจนำเที่ยวไปยังสถานที่หนึ่งสถานที่ใดในต่างประเทศ หรือนำเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ไปยังสถานที่หนึ่งสถานที่ใดภายในประเทศ
บริษัทนำเที่ยวในประเทศไทยดำเนินการแบบไหนบ้าง?
ส่วนใหญ่จะดำเนินการในรูปแบบบริษัทบริการนำเที่ยวซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ประเภทได้แก่
- บริษัทการนำเที่ยวเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างประเทศ(Inbound Tour Operator)
- บริษัทบริการนำเที่ยวต่างประเทศ(Outbound Tour Operator) ดูรายละเอียดของบริษัทฯฮอลิเดย์ไลฟ์ แทรเวล
- บริษัทนำเที่ยวภายในประเทศ(Domestic Tour Operator)
- บริษัทบริการนำเที่ยวในท้องถิ่น(Local Tour Operator)
- บริษัทบริการนำเที่ยวหลายลักษณะ (variety of tour operator)
ขอบเขตของการให้บริการของบริษัทนำเที่ยว
ขอให้ข้อมูลความหลากหลายของบริการของบริษัทนำเที่ยวในประเทศไทยโดยมีขอบเขตถูกกำหนดโดยใบอนุญาตที่ได้รับ
- บริการนำเที่ยวจากมัคคุเทศก์ บริษัทนำเที่ยวอาจมีบริการนำเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยว ทั้งในประเทศและต่างประเทศใน รูปแบบมัคคุเทศก์นำชม
- บริการรับส่งในลักษณะ Transfer In, Transfer Out จากสนามบิน-โรงแรมหรือโรงแรม-สนามบิน
- บริการจัดรายการนำเที่ยวหรือจัดนำเที่ยว โดยอาจพิมพ์หรือแสดงรายละเอียดของโปรแกรมท่องเที่ยว วันเวลาสถานที่ ท่องเที่ยวค่าใช้จ่ายและอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดนำเที่ยวไปในที่หนึ่งที่ใด อาจเป็นไปตามความต้องการของลูกค้าเองก็ได้ โดยมากมักเป็นการจัดรายการนำเที่ยวในลักษณะที่พิมพ์ออกมา เป็นรูปเล่ม แผ่นพับ โบชัวร์ หรือโฆษณาในนิตยสารต่าง ๆ เพื่อเสนอขายแก่ลูกค้าหรือนักท่องเที่ยว หรือจัดนำเที่ยวตามความต้องการของนักท่องเที่ยว
- บริการจองตั๋วเดินทาง เช่น รับจองตั๋วเครื่องบิน ตั๋วเรือสำราญ เป็นต้น
- บริการรับจองโรงแรมหรือที่พักให้กับนักท่องเที่ยว ทั้งในและต่างประเทศ
- บริการด้านการขนส่ง บางบริษัทอาจรับขนส่งพัสดุภัณฑ์ หรือรับส่งนักท่อง เที่ยวระหว่างการท่องเที่ยว
- บริการจองร้านอาหาร และบัตรเข้าชมการแสดง เช่น ขันโตกดินเนอร์ อัลคาซ่าร์โชว์ ภูเก็ตแฟนตาซี เป็นต้น
- บริการรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้แก่นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะบริษัทที่ตั้งอยู่ในย่านที่มีนักท่องเที่ยวอยู่มาก
- บริการติดต่อหาสถานศึกษาในต่างประเทศ บริษัทนำเที่ยวหลายๆ แห่งให้บริการหาสถานศึกษาระดับต่างๆ ในต่างประเทศ
- บริการจัดทำหนังสือเดินทางและวีซ่า หลายบริษัทก็รับจัดทำวีซ่าแทบทุกประเทศ แต่บางบริษัทก็รับทำวีซ่าเฉพาะบาง ประเทศเท่านั้น
- บริการให้คำปรึกษา แนะนำการเดินทางท่องเที่ยว
2.ธุรกิจที่พักแรม
โรงแรมในประเทศไทยอาจแบ่งกลุ่มตามวิธีการบริหารจัดการเป็น 3 กลุ่ม คือ
- โรงแรมที่บริหารจัดการโดยเจ้าของ
- โรงแรมที่บริหารจัดการโดยเครือข่ายการจัดการ(Management Chain) ของท้องถิ่น
- โรงแรมที่บริหารโดยเครือข่ายนานาชาติ
โรงแรมที่บริหารจัดการโดยเจ้าของ
โรงแรมที่บริหารจัดการโดยเจ้าของ หรือโรงแรมอิสระ (Independent Hotels) หมายถึง โรงแรมที่ไม่มีความเป็นเจ้าของร่วมหรือข้อผูกพันทางด้านการบริหารจัดการกับโรงแรม อื่น (อนุพันธ์ กิจพันธ์พานิช, 2546) เจ้าของโรงแรมจึงสามารถกำหนดนโยบายและวิธีการ บริหารของตนได้โดยอิสระ ทั้งนี้เจ้าของมีการว่าจ้างผู้ที่มีความรู้ และประสบการณ์มาเป็น ผู้จัดการ หรือตำแหน่งอื่นๆ แต่เจ้าของมักจะติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิด
โรงแรมที่บริหารจัดการโดยเครือข่ายการจัดการของท้องถิ่น(Local Chains)
เครือข่ายโรงแรมท้องถิ่นพัฒนาขึ้นพร้อมๆ กับการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเจ้าของโรงแรมที่ประสบ ความสำเร็จจากโรงแรมแห่งแรกของตน เริ่มขยายธุรกิจโดยการสร้างห้องพักเพิ่มขึ้นหรือสร้างโรงแรมแห่งใหม่ของตน จึงเริ่มมีกลุ่มโรงแรมในประเทศเกิดขึ้น กลุ่มโรงแรมบางกลุ่มนอกจากจะบริหารโรงแรมที่ตนเองเป็นเจ้าของแล้ว ยัง ขยายธุรกิจด้วยการรับจ้างบริหารโรงแรมให้แก่เจ้าของอื่น โดยรับค่าจ้างบริหาร(Management Fee) หรือขายสิทธิใน การใช้ชื่อ และเครื่องหมายการค้า(Franchise) เครือข่ายเหล่านี้บางรายก็อาศัยประสบการณ์และการเรียนรู้จากการจ้าง บริษัทต่างประเทศ เช่น เครือเซ็นทรัล ส่วนเครือดุสิตอาศัยการสร้างคู่มือการบริหารจากความช่วยเหลือของนักวิชาการ ต่างประเทศ และเครืออมารีอาศัยการจ้างมืออาชีพชาวต่างประเทศมาจัดตั้งระบบงานทั้งหมด
เครือข่ายโรงแรมขนาดใหญ่ของไทย
- เครือดุสิต
- เครืออิมพีเรียล
- เครืออมารี
- เครือเซ็นทรัล
- เครือโรงแรมเอเชีย
- เครือโรงแรมสยาม
- เครือแอมบาสเดอร์ เครือแอมบาสเดอร์
โรงแรมที่บริหารโดยเครือข่ายนานาชาติ
- เครือ Accor กลุ่ม Accor มีโรงแรมในเครือที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ดังนี้
ใช้ชื่อการค้า “Sofitel” 4 แห่ง ซึ่งเป็นโรงแรมในกรุงเทพฯ 2 แห่ง คือ “Sofitel Central Plaza” และ “Sofitel Silom” และต่างจังหวัดอีก 2 แห่งคือ “Sofitel Central Hua Hin Resort” และ “Sofitel Raja Orchid” ขอนแก่น - ใช้ชื่อการค้า “Novotel” 8 แห่ง เป็นโรงแรมในกรุงเทพฯ 3 แห่ง คือ “Novotel Bangkok” “Novotel Lotus” “Novotel Bangna” และต่างจังหวัดอีก 5 แห่ง คือ “Novotel Chiang Mai” “Novotel Coralia Rim Pae” จังหวัดระยอง “Novotel Coralia Phuket” “Novotel Central Sukhontha” ในอำเภอหาดใหญ่ “Novotel Coralia Magic Lagoon Khao Lak” จังหวัดพังงา
- ใช้ชื่อการค้า “Mercure” 3 แห่ง ได้แก่ “Mercure Hotel Chonburi” “Regency Park Bangkok(Associated Mercure)” และ “Panwa Beach Resort(Associated Mercure)” ในจังหวัดภูเก็ต
- เครือ Starwood กลุ่ม Starwood มีโรงแรมในเครือในประเทศไทย โดยจำแนกตามชื่อการค้าได้ดังนี้
- “Westin” ได้แก่ “The Westin Grande Sukhumvit”
- “Sheraton Grande” ได้แก่ “Sheraton Grande Sukhumvit”และ“Sheraton Grande Laguna Phuket”
- “Sheraton” ได้แก่ “The Royal Orchid Sheraton Hotel&Towers” “Sheraton Krabi Beach Resort” และ“Sheraton Chiangmai”
- “The Luxury Collection” ได้แก่ “Rayavadee The Luxury Collection” ที่จังหวัดกระบี่
- เครือ Mandarin Oriental
- โรงแรมในประเทศไทยที่บริหารจัดการโดยกลุ่ม Four Seasons มี 2 แห่ง คือ โฟร์ซีซั่น รีสอร์ทเชียงใหม่ และโฟร์ซีซั่นกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นกิจการของบริษัทรอยัลการ์เด้น รีซอร์ท จำกัด(มหาชน)
- เครือ Four Seasons
- โรงแรมในประเทศไทยที่บริหารโดยกลุ่ม Mandarin Oriental คือ โรงแรมโอเรียนเต็ล ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ.2519 ในนาม บริษัทไทยโรงแรม จำกัด และกลุ่มอิตัลไทยได้เข้าซื้อกิจการในปี พ.ศ.2510 และกลุ่ม Mandarin Oriental ได้เข้าร่วมลงทุน และบริหารจัดการในปี พ.ศ.2528 ปัจจุบันกลุ่ม Mandarin Oriental ยังรับบริหารจัดการให้กับโรงแรมดาราเทวี ซึ่งเป็นที่พักแบบ City Resort ในจังหวัดเชียงใหม่
- เครือ Mandarin Oriental
- เครือ Peninsula กลุ่ม Peninsula มีโรงแรมในเครือที่อยู่ในกรุงเทพฯ คือ The Peninsula Bangkok ซึ่งกลุ่ม Peninsula มีสัดส่วนการถือหุ้นในโรงแรมดังกล่าวประมาณร้อยละ 75 (ปี พ.ศ.2545)
- เครือ Banyan Tree โรงแรมในประเทศไทยที่อยู่ในเครือของ Banyan Tree คือ บันยันทรีภูเก็ต และบันยันทรีกรุงเทพฯ สำหรับบันยันทรีภูเก็ต นั้นที่พักแบบจากุชชี่วิลล่า จำนวน 121 หลัง เปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ.2538 โดยบริษัท ลากูน่า รีสอร์ต แอนด์ โฮเท็ล จำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจในกลุ่มไทยวา
- ช. เครือ Shangri-La โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ เป็นโรงแรมเพียงแห่งเดียวของกลุ่ม Shangri-La ในประเทศไทย โรงแรมนี้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2524 จากการร่วมทุนของกลุ่มนํ้าตาลไทยรุ่งเรือง และนายค๊อก ฮ๊อค เนียน นักลงทุนจากประเทศฮ่องกง ปัจจุบันโรงแรมนี้มีห้องพักทั้งหมด 850 ห้อง ซึ่งถือว่าใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโรงแรมในประเทศไทย รองจากและแอมบาสเดอร์ซิตี้จอมเทียน และอิมพีเรียลควีนสปาร์ค
3.ธุรกิจบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม
- ธุรกิจอาหารจานด่วน(Fast-Food)
- ธุรกิจอาหารสาเร็จรูปเดลี่(Deli Shop)
- ธุรกิจอาหารบุฟเฟต์(Buffet)
- ธุรกิจค้อฟฟี้ช้อพ(Coffee Shop)
- ธุรกิจคาเฟทีเรีย(Cafeteria)
- ธุรกิจอาหารกูร์เมต์(Gourmet)
- ธุรกิจอาหารสาหรับคนเฉพาะกลุ่ม
4.ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก
ธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึกเป็นธุรกิจการให้บริการจำหน่ายสินค้าประเภทที่ระลึกแก่นักท่อง เที่ยว นับเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้การเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวมีชีวิตชีวาออกรสชาติยิ่งขึ้น เมื่อได้มี โอกาสจับจ่ายใช้สอยซื้อของที่ระลึก ตามปกตินักท่องเที่ยวมักนิยมซื้อสินค้าที่ระลึกในท้องถิ่นที่เข้าไป ท่องเที่ยว เพื่อนำไปใช้เองหรือเก็บไว้เป็นที่ระลึกหรือนำไปฝากญาติมิตรโดยมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก เมื่อเดินทางกลับภูมิลำเนาแล้วมักจะนำประสบการณ์ที่ประทับใจไปเล่าให้ญาติมิตรฟังถึงความตื่นเต้น ที่จะได้สินค้าที่ระลึกชิ้นนี้มาหรือสาธยายถึงกรรมวิธีการผลิตสินค้าที่ระลึกชิ้นนี้ตามที่ตนได้พบเห็นมา โดยสินค้าที่ระลึกมักมีลักษณะที่สำคัญอยู่ 7 ประการดังต่อไปนี้คือ
- เป็นสินค้าเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่ไปเที่ยว
เป็นสินค้าที่เมื่อเอ่ยถึงทุกคนก็รู้ถึงหรือเดาที่มาของสินค้านั้นได้ หรือเมื่อยามเห็นสินค้านี้ก็ให้นึกถึงสถานที่ซื้อได้ เช่นเครื่องแกะสลักเมืองแพร่ เครื่องเงินเชียงใหม่ เครื่องถมเมืองนครศรีธรรมราช ข้าวหลามนครปฐม ลำไยลำพูน ลิ้นจี่เมืองฝาง เป็นต้น - เป็นสินค้าหายาก
เป็นสินค้าที่แหล่งท่องเที่ยวนั้นเป็นต้นกำเนิดหรือมีชื่อเสียงในการผลิตสินค้าที่ระลึกประเภทนี้ ทำให้แน่ใจว่าได้สินค้าที่เป็นของแท้หรือมีราคาถูกกว่าที่อื่น เช่นอัญมณี หินแร่บางชนิด สารสมุนไพรบางชนิด ศิลปวัตถุโบราณ เป็นต้น - เป็นสินค้าที่มีราคาถูกกว่าที่วางขายในภูมิลำเนาของนักท่องเที่ยว
เป็นสินค้าใช้สอยที่นักท่องเที่ยวใช้ประจำวัน แต่มีราคาถูกกว่าที่ซื้อในภูมิลำเนาของนักท่องเที่ยวเอง เช่นเสื้อผ้า เครื่องสำอาง เครื่องหนัง อาหารแห้ง ภาชนะใช้ในครัวเรือน บุหรี่ เหล้า เป็นต้น - เป็นสินค้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์แปลกหรือมีประโยชน์ใช้สอย
เป็นสินค้าที่มีความแปลกใหม่ในการออกแบบหรือมีประโยชน์ใช้สอยพิเศษ เช่นเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก ที่ใส่ภาชนะหีบห่อสวยงาม อุปกรณ์แกะสลัก พวงกุญแจ ของเลียนแบบโบราณ ตุ๊กตา เป็นต้น - เป็นสินค้าที่มีรูปร่าง ขนาด และนํ้าหนักเหมาะสมต่อการขนส่ง
เป็นสินค้าที่ไม่เปราะบางหรือชำรุดง่าย ถ้าหากสินค้ามีจุดอ่อนดังกล่าวต้องหาทางแก้ไข เช่นมีการบรรจุหีบห่อที่มีประสิทธิภาพ การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีนํ้าหนักน้อยและมีขนาดเล็กลง เป็นต้น - เป็นสินค้าที่ใช้วัสดุและแรงงานในท้องถิ่นนั้น
เป็นสินค้าที่นำวัสดุเหลือใช้ไร้ค่ามาแปรรูปเป็นสินค้าที่ระลึก ซึ่งจะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม นอกจากนั้นการใช้แรงงานเด็กและสตรีนอกเวลางานประจำมาประดิษฐ์สินค้า ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ - เป็นสินค้าที่มีการแสดงขั้นตอนการผลิตให้นักท่องเที่ยวเห็นหรือทดลองทำ
เป็นสินค้าที่แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการผลิต เพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจและเห็นคุณค่าของสินค้านั้น เช่นให้นักท่องเที่ยวเก็บผลไม้ด้วยตัวเอง การวาดลายร่มให้นักท่องเที่ยวชม การทอผ้าให้นักท่องเที่ยวชม เป็นต้น
5.ธุรกิจคมนาคมขนส่ง
การบริการขนส่งในเชิงพาณิชย์ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการขนย้ายผู้โดยสารและสินค้าจากจุด หนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แต่การขนส่งที่นับว่ามีอิทธิพลกับท่องเที่ยวโดยตรงก็คือ การขนส่ง ผู้โดยสาร การขนส่งนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจแบ่งออกตามรูปแบบการขนส่งได้ 4 ประเภท
- การขนส่งทางบก(Land Transportation) รถยนต์ รถเช่า รถไฟ มอเตอร์ไซต์ จักรยาน
- การขนส่งทางนํ้า(Water Transportation) เรือนำเที่ยว เรือสำราญระหว่างประเทศ
- การขนส่งทางอากาศ(Air Tran- sportation) สายการบินต่างๆ ทั่วโลก
- การขนส่งทางท่อ(Tube Transportation)
6. ธุรกิจหรือแหล่งนันทนาการเพื่อการท่องเที่ยว(Commercial Recreation Tourism)
ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมและการบริการเพื่อตอบสนองความต้องการ หรือวัตถุประสงค์ใน การเดินทางของนักท่องเที่ยว ซึ่งจะได้ผลกำไรจากการให้บริการ การเข้าร่วมกิจกรรมหรือชมการ แข่งขันกีฬา การเข้าร่วมการแข่งขันและเล่นกีฬา การใช้บริการศูนย์สุขภาพ(Fitness Center) การฟื้นฟู สุขภาพจากสถานที่แหล่งธรรมชาติ การเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาผจญภัย รวมทั้งการจัดประชุม อบรม สัมมนาเกี่ยวกับการกีฬา เป็นต้น ธุรกิจหรือแหล่งนันทนาการในการท่องเที่ยวมักจะดำเนินการโดย ภาคเอกชนแต่ก็มีไม่น้อยที่รัฐบาลเป็นเป็นผู้จัดสร้างเพื่อให้ผู้คนมาพักผ่อนหย่อนใจ
ประเภทธุรกิจหรือแหล่งนันทนาการ
จำแนกตามสถานที่นันทนาการ ดัดแปลงจากแนวคิดของชับบ์และชับบ์(Chubb and chubb, 1981) ได้แบ่งประเภทธุรกิจนันทนาการตามสถานที่เป็น 10 ประเภท ได้แก่
- ศูนย์การค้า
- ภัตตาคาร
- ศูนย์รวมทางสังคม
- อุทยานสวนสนุก
- พิพิธภัณฑ์
- สวนหย่อมและสวนพักผ่อน
- โรงมหรสพหรือโรงละคร
- สนามกีฬาและศูนย์ออกกาลังกาย
- สถานที่พัก ค่ายพักแรม โรงแรมและรีสอร์ท
- สวนและฟาร์ม
บทสรุปของ การท่องเที่ยว
สั้นๆ เลยคือ การเดินทางเคลื่อนย้ายจากถิ่นฐานเดิมที่อยู่เป็นกิจวัตร ไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ ในการพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อธุรกิจ เพื่อการทำงาน เพื่อการประชุม เพื่อการเรียน เพื่อการกีฬา เพื่อเยี่ยมเยือนเพื่อนฝูงญาติพี่น้อง เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดการจับจ่ายเงินไหลเข้าประเทศจากคนต่างชาติ หรือเงินหมุนเวียนภายในประเทศที่ผู้คนภายในประเทศจับจ่ายกันเอง และก่อให้เกิดการกระจายรายได้เข้าสู่ชุมชนรากหญ้า
คุณต้องเข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น.