จากข่าวดัง!!! ผู้โดยสารกับสัมภาระนำขึ้นเครื่อง แอร์ไม่ช่วยยกให้ผิดหรือถูก? ซึ่งเป็นเรื่องดราม่ากันในโลกโซเชี่ยล ปัจจุบันนี้มาอย่างรวดเร็วและก็นำมาซึ่งการวิพากวิจารณ์ ทั้งให้คำติชมกันต่างๆนาๆ ในฐานะผู้เขียนอยู่ในวงการทำงานด้านท่องเที่ยวมานานกว่า 38 ปี ผ่านการใช้บริการเดินทางของสายการบินต่างๆ มามาก จึงอยากใช้ประสบการณ์นี้มาบอกกล่าว และแสดงความคิดเห็นส่วนตัว มาดูเหตุผล และการวิเคราะห์กัน จะถูกหรือผิด ให้ท่านใช้วิจารณญานของตัวท่านเอง
ผู้โดยสารกับสัมภาระนำขึ้นเครื่อง ทีข้อกำหนดอย่างไร
ผู้เดินทางถูกคนจะต้องทราบข้อตกลงและเงื่อนไข ในระหว่างที่ท่านซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบิน ซึ่งเราต้องแยกแยะออกให้ได้ว่า ตั๋วโดยสารนั้นมีการแบ่งแยกออกเป็นหลายประเภท หลายเงื่อนไข หลายคลาส หลายราคา โดยแต่ละสายการบินเป็นผู้กำหนดของเขาเอง ซึ่งบางครั้งจนทำให้ผู้เดินทางบ่อยๆ และใช้สายการบินหลากหลาย เกิดความสับสน และยังจดจำภาพเก่าๆ ที่เคยเข้าใจ เมื่อยุคปัจจุบันนี้เกิดการแข่งขันกันแบบเสรี และมุ่งเน้นแย้งชิงลูกค้ากันสูง จึงมีการสร้างเงื่อนไขเชิญชวนให้ลูกค้ามาสนใจบริการของเขาให้มากโดย ลดเงื่อนไขลง เพื่อให้ได้ราคาต่ำลง เพราะผู้คนส่วนใหญ่จะใช้ความรู้สึกว่าสายการบินนี้ให้ราคาต่ำดี โดยไม่สนใจเรื่องน้ำหนักสัมภาระที่ได้ เพราะอาจจะไม่จำเป็นสำหรับเขา บางสายการบินให้ 25 กิโล 30 กิโล 40 กิโล หรือแม้กระทั่ง 35×2 ใบต่อ1ผู้โดยสาร ซึ่งก็ถือว่าเป็นกลยุทธทางการตลาดของเขา
แต่ข้อสรุปว่าทำไมสัมภาระของผู้ที่จะนำขึ้นเครื่อง Carry on Baggage นั้นมักจะกำหนดไว้ไม่สูงโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 7 Kg และขนาดต้องไม่ใหญ่เกิน
ตย. ผู้โดยสารกับสัมภาระนำขึ้นเครื่อง Thai Airways
ผู้โดยสารแต่ละท่านสามารถถือสัมภาระขึ้นเครื่องได้หนึ่งชิ้น ความยาวไม่เกิน 56 เซนติเมตร (22 นิ้ว) ความกว้างไม่เกิน 45 เซนติเมตร (18 นิ้ว) ความหนาไม่เกิน 25 เซนติเมตร (10 นิ้ว) ซึ่งขนาดนี้รวมล้อ มือจับและกระเป๋าด้านข้างแล้ว น้ำหนักสัมภาระถือขึ้นเครื่องจะต้องไม่เกิน 7 กิโลกรัม (15 ปอนด์) ทั้งนี้ผู้โดยสารจะต้องวางกระเป๋าไว้บนตู้เก็บเหนือศีรษะหรือใต้เบาะของตนเอง
-ข้อมูลการบินไทย
พนักงานต้อนรับบนเครื่องมีหน้าที่ยกสัมภาระให้ลูกค้าไหม?
ถ้าเราจะพูดถึงชื่อก็จะบอกความหมายของมันในตัว ว่าพนักงานต้อนรับบนเครื่อง ซึ่งมีหน้าที่ คอยจัดการเรื่องที่นั่งให้ลูกค้าในขณะที่กำลังเรียกขึ้นเครื่องเพื่อให้ได้ที่นั่งได้ตรงตามบัตรที่นั่ง Boarding Pass ให้รวดเร็วที่สุดภายในระยะเวลากำหนด เพราะหากล่าช้าหรือเกินเวลา ก็อาจจะมีผลทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการการจอดเพิ่มขึ้น เราจะเห็นได้ว่าเวลาเราขึ้นเครื่องจึงมีลำดับของการเรียกขึ้นเครื่องของสายการบินเสมอ โดยผู้เขียนขอสรุปไว้ดังนี้ ตามลำดับ
- ผู้โดยสารชั้นสูง Fist Class, Bussiness Class
- ผู้โดยสารที่จองมาโดยมีเงื่อนไขการจ่ายเพิ่ม หรือเรียกว่า Fast Track หรือผู้โดยสารพิการ หรือใช้รถเขน
- ผู้โดยสารสูงอายุ และมีเด็กอ่อน เพราะจำเป็นต้องให้เข้าก่อนให้เรียบร้อย ซึ่งจะได้ไม่ทำให้การจราจรเดินหาที่นั่งช้าไปตามๆกัน
- ผู้โดยสายแถวที่อยู่ในสุดหรืออยู่ท้ายเครื่องเข้าก่อน เพราะจะไม่ทำให้ขวางการจราจร หากเอาแถวหน้าก่อน คนที่อยู่ท้ายเครื่องก็ติดจราจร
จะเห็นว่าในระหว่างที่ผู้โดยสารขึ้นเครื่องพนักงานต้อนรับบนเครื่องก็จะกระจายยืนไปตำแหน่งต่างๆ คอยช่วยเหลือลูกค้าให้หาที่ให้เจอ โดยตัวเขาเองจะไม่ไปขวางจราจร หากผู้โดยสารต้องการความช่วยเหลือเขาก็จะเข้าไปช่วยได้อย่างท่วงทัน ซึ่งคอยดูว่า ผู้โดยสารนำสัมภาระขึ้นเก็บไว้ใน Overhead Locker เรียบร้อยไหม? มีที่ว่างตรงไหนยังเหลือพอให้ใส่ได้อีก ซึ่งตรงนี้ผมมองว่าพนักงานต้อนรับไม่ควรจะมีหน้าที่ยกสัมภาระให้ผู้โดยสารเลย หากจำเป็นจริงๆ ก็สามารถช่วยได้กรณีผู้โดยสารยกไม่ถึงล๊อคเกอร์ชั้นวางข้างบน ซึ่งเราต้องนึกภาพออกนะครับว่า มันจะสูงเหนือหัวเรา ราว 120 เซนติเมตรขึ้น บางคนยกไม่ถึงจริง ***แต่ก็นะบางคนก็ตั้งใจนำสัมภาระขึ้นเครื่องมาแบบไม่ดูตัวเองเล้ย…5555
เหตุผลที่ทุกสายการบินจึงต้องมีเงื่อนไข ผู้โดยสารกับสัมภาระนำขึ้นเครื่อง
เป็นเรื่องแน่นอนที่สุดว่าขบวนการขั้นตอนนำผู้โดยสารให้เข้าที่เข้าทางนั้นต้องทำอย่างรวดเร็ว และบริหารจัดการอย่างมีขั้นตอน และมาตราการต้องเข้มงวดก็ต้องตามมาด้วย ผู้โดยสารร้อยพ่อพันแม่ มีหลากหลาย เขาให้ 7 kg ก็แอบเอามาซะยกขึ้นหลังแอ่นกันไปเลยก็มี เพราะไม่อยากจ่ายค่าธรรมเนียมน้ำหนักเพิ่ม นั่นคือเหตุผลหลัก แต่บางคนก็เอาก็เป๋าใบเดียวเดินทางใบขนาดขึ้นเครื่องได้ และไม่ต้องโหลดลงใต้ท้องเครื่อง เพราะไม่ต้องการรอกระเป๋าจากสายพาน เมื่อตอนไปถึงสะดวกดี เร็วดี ก็อีกเหตุผลนึง
ประเด็นหลักก็ด้วยเหตุผล ขอสรุปให้เป็นข้อดังนี้
- เพื่อไม่ให้ผู้โดยสารขนย้ายลำบาก ผะลุงพะลัง เป็นบ้าหอบฝางไปขึ้นเครื่อง ซึ่งบางสายการบินเข้มงวดจำนวนกันเพียง 1 ชิ้น ถึงขนาดนั้นเลยที่เดียว
- เพื่อความปลอดภัยของเที่ยวบิน และผู้โดยสาร ซึ่งในระหว่างบินอาจจะทำให้ร่วงหล่นลงมาใส่ศรีษะผู้โดยสารบาดเจ็บได้
- สัมภาระที่นำขึ้นเครื่องนั้นจะต้องผ่านการตรวจเครื่องเอ็กซเรย์ ภายในสนามบินก่อนจะเข้าไปยังห้องผู้โดยสารขึ้นเครื่องบาง บางสนามบินของแต่ละประเทศ นั้นๆ มีนโยบายเข้มงวดตรวจสิ่งของอย่างละเอียด ซึ่งเป็นกฎหมายการบินระหว่างประเทศเพื่อความปลอดภัย บวกกับนโยบายของการท่าอากาศยานของประเทศนั้นๆ ป้องกันการก่อการร้าย ดังนั้นสัมภาระที่จะขึ้นเครื่องต้องมีไม่มาก ต้องเอาเท่าที่จำเป็น เหตุผลคือผู้โดยสารบางคน มาขึ้นเครื่องล่าช้า ก็มีผลกระทบต่อการบินของสายการบินเขานั่นเอง
หน้าที่หลักของพนักงานต้อนรับบนเครื่อง
พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน คือ บุคคลที่ทำหน้าที่ให้บริการ และอำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารบนเครื่องบิน หน้าที่รับผิดชอบโดยทั่วไป เช่น การตรวจเช็คอุปกรณ์ประจำเครื่องตามจุดต่างๆ ประกอบด้วย ถังออกซิเจน เครื่องดับเพลิง ไฟฉาย หน้ากากออกซิเจน และเสื้อชูชีพ ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในกรณีฉุกเฉินให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ตลอดเวลา การให้บริการด้านต่างๆ แก่ผู้โดยสาร อาทิ การเตรียมอาหาร การเสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม การให้การรักษาพยาบาลแก่ผู้โดยสารที่เจ็บป่วย รวมทั้งการจัดหาที่นั่ง การแจกนิตยสาร หนังสือพิมพ์ ตลอดจนการตรวจเช็คให้ผู้โดยสารรัดเข็มขัดก่อนเครื่องบินขึ้น-ลง นอกจากนี้การอำนวยความสะดวกด้านอื่นๆ ที่จะทำให้ผู้โดยสารเกิดความสบายก็เป็นสิ่งจำเป็นและเป็น หน้าที่ความรับผิดชอบที่ควรกระทำ
คุณสมบัติ
- มีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ที่สำคัญควรมีความรู้ในภาษาอื่นๆ ด้วย
- มีใจรักในงานให้บริการอย่างจริงใจ และพร้อมที่จะให้บริการแก่ผู้โดยสารด้วยความสุภาพอ่อนโยน และเป็นมิตร
- มีความอดทนต่อปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ทั้งจากงานและจากบุคคลรอบข้าง
- มีไหวพริบปฏิภาณในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
- มีบุคลิกภาพดี ยิ้มแย้มแจ่มใส สามารถปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นๆ และสังคมได้เป็นอย่างดี
- สามารถว่ายน้ำได้ และมีสุขภาพร่างกาย-จิตใจที่แข็งแรง
กฎหมายข้อกำหนดเกี่ยวกับ ผู้โดยสารกับสัมภาระนำขึ้นเครื่อง
ทำไม? ผู้โดยสารต้องยกกระเป๋าเอง พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ไม่ช่วยผิดหรือไม่? เปิดข้อบังคับคณะกรรมการการบินพลเรือน ฉบับที่ 69 จาก ข้อมูลราชกิจานุเบกษา
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า หน้าที่ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ไม่มีข้อใดระบุถึงการต้องยกกระเป๋าให้ผู้โดยสารแต่อย่างใด และข้อบังคับของกรมการบินพลเรือน ในข้อที่ 5 ยังระบุไว้ว่าเป็นหน้าที่ของผู้โดยสาร ซึ่งในประเด็นนี้ ผู้ที่เข้าใจในระเบียบดังกล่าว ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า หากพนักงานต้องช่วยยกกระเป๋าให้ผู้โดยสาร เครื่องบินลำหนึ่งมีผู้โดยสารนับร้อยคน พนักงานฯ ก็ต้องยกกระเป๋านับร้อยใบต่อการทำงานซึ่งเป็นไปไม่ได้เลย และยังส่งผลต่อปัญหาสุขภาพแก่พนักงานอีกด้วย
คุณต้องเข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น.