การท่องเที่ยว

การท่องเที่ยว

มาเริ่มต้นทำความรู้จักของ การท่องเที่ยว ในฐานะเป็นบุคลากรคนหนึ่งที่ประกอบอาชีพทางด้านนี้มาตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย ซึ่งก็ไม่เคยคิดว่าจะได้มาประกอบอาชีพนี้ตั้งแต่แรก แต่แท้ที่จริงแล้วตัวตนของเรา คำว่าใช่ในการใช้ชีวิต มันถูกออกแบบมาตั้งครั้ง ทำกิจกรรมตั้งเรียนระดับชั้นประถมมาด้วยซ้ำ หากเราย้อนกลับไปในช่วงนั้น โรงเรียนจะมีการนำนักเรียนไปทัศนาจร เด็กๆก็จะมีความสุขขึ้นมาทันที

การท่องเที่ยว คือ

การท่องเที่ยว หมายถึงการเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจหรือเพื่อความสนุกสนานตื่นเต้นหรือเพื่อหาความรู้ โดยองค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (อังกฤษ: World Tourism OrganizationUnited Nations World Tourism Organization: UNWTO) กำหนดไว้ว่า การท่องเที่ยวหมายถึงการเดินทาง โดยระยะทางมากกว่า 40 กิโลเมตรจากบ้าน เพื่อจุดประสงค์ในการพักผ่อนหย่อนใจ

เนื้อหาทั้งหมดของบทความนี้

การท่องเที่ยวเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไร?

มนุษย์ในโลกนี้เกิดมาก็มาการเคลื่อนย้ายไปมาในผืนแผ่นดินของโลกใบนี้ ให้นึกถึงในยุคโบราณ มนุษย์อาจต้องเดินทางเพื่อหาอาหาร หนีภัยธรรมชาติ ไปประกอบพิธีกรรมความเชื่อ โดยอาศัยเส้นทางธรรมชาติ ทางบกซึ่งง่ายที่สุดซึ่งอาจใช้สัตว์เลี้ยงเป็นพาหนะ ทางน้ำก็เดินทางตามกระแสน้ำไหล โดยทำยานพาหนะ เช่น ซุง แพ เรือ โดยใช้สิ่งของที่มีอยู่รอบข้าง และมีการพัฒนาต่อเนื่องในมนุษย์ เกิดชุมชน ตลาด สังคม เกิดการแลกเปลี่ยนปัจจัย 4 การซื้อขาย เกิดสกุลเงิน ซึ่งจะว่าไปแล้ว ก่อนยุคประวัติศาสตร์คงจะไม่ผิด และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ผู้คนสามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้ง่าย ใช้เวลาสั้นลงด้วยวิทยาการเทคโนโลยี่ได้ถูกพัฒนา ซึ่งนับจากในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมในทวีปยุโรป การเดินทางค้นพบทวีปต่างๆ ของโคลัมบัส การเดินทางเส้นทางสายไหม ของ มาร์โค โปโล ทำให้การเดินทางรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เพื่อแสวงหาประสบการณ์ ความตื่นเต้น กับดินแดนแห่งใหม่ การฉกฉวยแย่งชิงเริ่มเกิดขึ้น การผลิตอาวุธเพื่อการป้องกันตนเอง หรือจากผู้รุกรานก็เกิดขึ้น เมื่อเกิดศาสนาใดสาสนาหนึ่งเกิดขึ้น ยอมมีการเดินทางย้ายจากถิ่นฐานไปยังอีกถิ่นฐานหนึ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านพิธีกรรม การเผยแพร่ การเดินทางเพื่อล่าอาณานิคมก็เกิดขึ้น

การท่องเที่ยว

จนถึงยุคของการฟิ้นฟูศิลปะวิวัฒนาการ ทำให้เกิดการเรียนรู้ สถาบันการศึกษา จึงเกิดการเดินทางเพื่อเพิ่มองค์ความรู้ของคนตั้งยุคนั้นมา จนกระทั่งเกิดสงครามการกระทบกระทั่งกันในชนเผ่าต่างๆ สงครามคร่าชีวิตมนุษย์ ทำให้ผู้คนเดินทางหนีสงครามก็มีมากมาย เกิดสงครามครั้งที่ 1 ต่อด้วยสงครามครั้งที่ 2 ในช่วงนี้การเดินทาง การท่องเที่ยวหยุดชะงัก หรือชลอตัวลง จากเหตุการณ์ไม่สงบ ภาวะการขาดแคลนการเงิน เศรษฐกิจชะลอตัว จนเข้าสู่ใยุค ศตวรรษที่ 20 ยุคแห่งสงครามเย็น การสู้รบสงครามมีน้อยลง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถูกฟื้นฟู และเฟื่องฟูมากขึ้น และทำให้หลายๆประเทศนำเอานโยบายการท่องเที่ยวมาเป็นรายได้หลัก ซึ่งโดยนำจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวหลายๆอย่าง อาทิเช่น ธรรมชาติที่หาที่อื่นไม่มี วัฒนธรรมดีๆ เทศกาลประเพณีที่ลำ้ค่า การประชุมนานาชาติ การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ เริ่มสร้างรายได้กลับมของประเทศ

สำหรับการท่องเที่ยวในประเทศไทยได้มีพัฒนาการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2467 สมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ครั้งทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการรถไฟ ซึ่งในครั้งนั้นการท่องเที่ยวในประเทศไทย ยังเป็นการท่องเที่ยวเพื่อชมธรรมชาติและสถานที่ราชการ หรือสถานที่สำคัญที่ชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทยสร้างขึ้น

แต่เมื่อไม่นานมานี้ทางองค์การการท่องเที่ยวโลก (www.unwto.org) ได้มีการกำหนดรูปแบบการท่องเที่ยวเป็น 3 รูปแบบหลัก ไว้ให้ชัดเจนและเข้าใจง่ายขึ้น ได้แก่

  • รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ (Natural based tourism)
  • รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม (Cultural based tourism)
  • รูปแบบการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ (Special interest tourism)

ประเภทการท่องเที่ยว

1. รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ (์Natural based tourism) ประกอบด้วย

1.1 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism)

credit photo http://curiositysavestravel.com/

หมายถึงการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นและแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวของภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่นเพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

1.2 การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล (Marine ecotourism)

การท่องเที่ยว
photo credit https://youmatter.world

หมายถึงการท่องเที่ยว อย่างมีความรับผิดชอบในแหล่งธรรมชาติทางทะเลที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และแหล่งท่องเที่ยวที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศทางทะเล โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ที่เกี่ยวของภายใต ้ การจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อมุ่งให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอยางยั้งยืน

1.3 การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา (Geo-tourism)

Geo-tourism การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา

หมายถึงการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่เป็น   หินผา ลานหินทราย อุโมงค์โพรง ถ้ำน้ำลอด ถ้ำหินงอกหินย้อย เพื่อดูความงามของภูมิทัศน์ที่มีความแปลกของการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่โลก  ศึกษาธรรมชาติของหิน ดิน แร่ต่างๆ และฟอสซิล ได้ความรู้ได้มีประสบการณ์ใหม่ บนพื้นฐานการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อม โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยว

1.4 การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agro tourism)

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร (Agro tourism)

หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยวไปยังพื้นที่เกษตรกรรมสวนเกษตร วนเกษตร สวนสมุนไพร ฟาร์มปศุสัตว์และเลี้ยงสัตว์เพื่อชื่นชมความสวยงาม ความสำเร็จและเพลิดเพลินในสวนเกษตร ได้ความรู้มีประสบการณ์ใหม่บนพื้นฐานความรับผิดชอบ มีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมของสถานที่แห่งนั้น

1.5 การท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ (Astrological tourism)

การท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ (Astrological tourism)

หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อการไปชมปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวาระ เช่น สุริยุปราคา ฝนดาวตก จันทรุปราคา และการดูดาวจักราศีที่ปรากฏในท้องฟ้าแต่ละเดือน เพื่อการเรียนรู้ระบบสุริยะจักรวาล มีความรู้ความประทับใจ ความทรงจำและประสบการณ์เพิ่มขึ้น บนพื้นฐานการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบมีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการร่วมกันอย่างยั่งยืน

2.  รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม (Cultural based tourism) ประกอบด้วย

รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม (Cultural based tourism

2.1 การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ (Historical tourism)

หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ เพื่อชื่นชมและเพลิดเพลินในสถานที่ท่องเที่ยวได้ความรู้มีความเข้าใจต่อประวัติศาสตร์และโบราณคดี ในท้องถิ่นพื้นฐานของความรับผิดชอบและมีจิตสำนึกต่อการรักษามรดกทางวัฒนธรรมและคุณค่า ของสภาพแวดลอมโดยที่ประชาชนในท้องถิ่น มีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยว

2.2 การท่องเที่ยวชมวัฒนธรรมและประเพณี (Cultural and traditional tourism)

การท่องเที่ยวชมวัฒนธรรมและประเพณี (Cultural and traditional tourism)

หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยว เพื่อชมงานประเพณีต่างๆ ที่ชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นๆ จัดขึ้น ได้รับความเพลิดเพลินตื่นตาตื่นใจในสุนทรียะศิลป์เพื่อศึกษาความเชื่อ การยอมรับนับถือ การเคารพพิธีกรรมต่างๆ และมีความเข้าใจต่อสภาพสังคมและวัฒนธรรม มีประสบการณ์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นบนพื้นฐานของความรับผิดชอบและมีจิตสำนึกต่อการรักษาสภาพแวดล้อมและมรดกทางวัฒนธรรม โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการท่องเที่ยว

2.3 การท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตในชนบท (Rural tourism / village tourism)

การท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตในชนบท (Rural tourism / village tourism)

หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยวในหมู่บ้าน ชนบทที่มีลักษณะวิถีชีวิต และผลงานสร้างสรรค์ที่มีเอกลักษณ์พิเศษมีความโดดเด่นเพื่อความเพลิดเพลินได้ความรู้ดูผลงานสร้างสรรค์และภูมิปัญญาพื้นบ้าน มีความเข้าใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น บนพื้นฐานของความรับผิดชอบและมีจิตสำนึกต่อการรักษามรดกทางวัฒนธรรมและคุณค่าของสภาพแวดล้อม โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยว

3.  รูปแบบการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ (Special interest tourism) ประกอบด้วย

3.1 การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health tourism)

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health tourism)

หมายถึงการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติและแหล่งวัฒนธรรมเพื่อการพักผ่อนและเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพกายใจได้รับความเพลิดเพลิน และสุนทรียภาพ มีความรู้ต่อการรักษาคุณค่า และคุณภาพชีวิตที่ดี มีจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน อนึ่ง การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนี้บางแห่งอาจจัดรูปแบบเป็นการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพและความงาม (health beauty and spa)

3.2 การท่องเที่ยวเชิงทัศนศึกษาและศาสนา (Edu-meditation tourism) 

การท่องเที่ยวเชิงทัศนศึกษาและศาสนา (Edu-meditation tourism) 

หมายถึง การเดินทางเพื่อทัศนศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากปรัชญาทางศาสนา หาความรู้ สัจธรรมแห่งชีวิตมีการฝึกทำสมาธิเพื่อให้มีประสบการณ์และความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น มีคุณค่าและคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้นมีจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน นอกจากนั้น นักท่องเที่ยวบางกลุ่มมุ่งการเรียนรู้วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย เช่น  การทำอาหารไทย การนวดแผนไทย รำไทย มวยไทย การช่างและงานศิลปหัตถกรรมไทย รวมถึงการบังคับช้างและเป็นควาญช้าง เป็นต้น

3.3 การท่องเที่ยวเพื่อศึกษากลุ่มชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรมกลุ่มน้อย (Ethnic tourism)

การท่องเที่ยวเพื่อศึกษากลุ่มชาติพันธุ์หรือวัฒนธรรมกลุ่มน้อย (Ethnic tourism)

หมายถึง การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่วัฒนธรรมของชาวบ้าน วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยหรือชนเผ่าต่าง ๆ เช่น หมู่บ้านชาวไทยโซ่ง หมู่บ้านผู้ไทย หมู่บ้านชาวกูย หมู่บ้านชาวกะเหรี่ยง หมู่บ้านชาวจีนฮ่อ เป็นต้น เพื่อมีประสบการณ์และความรู้ใหม่เพิ่มขึ้นมีคุณค่าและคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้นมีจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดลอมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

3.4 การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sports tourism)

การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sports tourism)

หมายถึงการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเล่นกีฬาตามความถนัดความสนใจ ในประเภทกีฬา เช่น กอล์ฟ ดำน้ำ ตกปลา สนุกเกอร์ กระดานโตคลื่น สกีนํ้า เป็นต้น ให้ได้รับความเพลิดเพลินความสนุกสนานตื่นเต้น ได้รับประสบการณ์และความรู้ใหม่เพิ่มขึ้น มีคุณค่าและคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้น มีจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดลอมและวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมต่อการจัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

3.5 การท่องเที่ยวแบบผจญภัย (Adventure travel)

การท่องเที่ยวแบบผจญภัย (Adventure travel)

หมายถึง การเดินทางท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีลักษณะพิเศษ ที่นักท่องเที่ยวเขาไปเที่ยวแล้วได้รับความสนุกสนานตื่นเต้น หวาดเสียว ผจญภัย มีความทรงจำ ความปลอดภัย และได้ประสบการณ์ใหม่

3.6 การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์และฟาร์มสเตย์ (Home stay & farm stay)

หมายถึง นักท่องเที่ยวกลุ่มที่ต้องการใช้ชีวิตใกล้ชิดกับครอบครัวในท้องถิ่นที่ไปเยือนเพื่อการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้รับประสบการณ์ในชีวิตเพิ่มขึ้น โดยมีจิตสำนึกต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นการจัดการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่นที่ยั่งยืน

3.7 การท่องเที่ยวพำนักระยะยาว (Long stay) 

หมายถึง  กลุ่มผู้ใช้ชีวิตในบั้นปลายหลังเกษียณอายุจากการทำงานที่ต้องการมาใช้ชีวิตต่างแดนเป็นหลัก เพื่อเพิ่มปัจจัยที่ห้าของชีวิตคือ การท่องเที่ยว โดยเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศเฉลี่ย 3 – 4  ครั้งต่อปี คราวละนาน ๆ อย่างน้อย  1 เดือน

3.8 การท่องเที่ยวแบบให้รางวัล (Incentive travel) 

หมายถึงการจัดนำเที่ยวให้แก่กลุ่มลูกค้าของบริษัทที่ประสบความสำเร็จ (มีความเป็นเลิศ) ในการขายสินค้านั้นๆ ตามเป้าหมายหรือเกินเป้าหมาย เช่น กลุ่มผู้แทนบริษัทจำหน่ายรถยนต์ ผู้แทนบริษัทจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า ผู้แทนบริษัทจำหน่ายเครื่องสำอาง จากภูมิภาคหรือจังหวัดต่างๆ ที่สามารถขายสินค้าประเภทนั้นได้มากตามที่บริษัทผู้แทนจำหน่ายในประเทศตั้งเป้าหมายไว้เป็นการให้รางวัลและจัดนำเที่ยว โดยออกค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าพักแรมและค่าอาหารระหว่างการเดินทางให้กับผู้ร่วมเดินทาง เป็นการจัดรายการพักแรมตั้งแต่  2 – 7  วัน เป็นรายการนำเที่ยวชมสถานท่องที่ต่างๆ อาจเป็นรายการนำเที่ยวแบบผสมผสาน หรือรายการนำเที่ยวในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง

3.9 การท่องเที่ยวเพื่อการประชุม (MICE หมายถึง M=meeting/I= incentive/ C=conference / E=exhibition) 

เป็นการจัดนำเที่ยวให้แก่กลุ่มลูกค้าของผู้ที่จัดประชุม มีรายการจัดนำเที่ยวก่อนการประชุม (pre-tour)  และการจัดรายการนำเที่ยวหลังการประชุม (post-tour)  โดยการจัดรายการท่องเที่ยวในรูปแบบต่าง ๆ ไปทั่วประเทศ เพื่อบริการให้กับผู้เข้าร่วมประชุมโดยตรง หรือสำหรับผู้ที่ร่วมเดินทางกับผู้ประชุม  (สามีหรือภรรยา) อาจเป็นรายการท่องเที่ยววันเดียว หรือรายการเที่ยวพักค้างแรม 2 – 4 วัน โดยคิดราคาแบบเหมารวมค่าอาหารและบริการท่องเที่ยว

3.10 การท่องเที่ยวแบบผสมผสาน

เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้จัดการการท่อง เที่ยวคัดสรรรูปแบบการท่องเที่ยวที่กล่าวมาแล้วข้างต้น นำมาจัดรายการนำเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความแตกต่างระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวในระยะยาวนานตั้งแต่ 2 – 7 วันหรือมากกว่านั้นเช่น การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเกษตร (eco–agro tourism) การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและประวัติศาสตร์ (agro-historical tourism)  การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและผจญภัย (eco-adventure travel) การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาและประวัติศาสตร์ (geo- historical tourism) การท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม  (agro-cultural tourism) เป็นต้น

นอกจากนี้ในปัจจุบัน การท่องเที่ยวได้พิจารณาจากความต้องการหรือพฤติกรรมนักท่องเที่ยวเพิ่มเติมทำให้มีรูปแบบการท่องเที่ยวที่มีแนวคิดใหม่ ขึ้นมาเช่น

  • Muaythai Training tourism เป็นสิ่งที่ประเทศไทยมีที่เดียวที่สร้างชื่อเรื่องมวยไทยขึ้นมาและเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลก ที่ต้องการความสำเร็จกับการเป็นนักชกมวยไทย หรือเพียงแค่เรียนระยะสั้นๆ ในระยะไม่กี่สัปดาห์ของการมาเที่ยว เพื่อได้ประสบการณ์กลับไป
  • Green tourism ที่คนมาท่องเที่ยวจะต้องการอนุรักษ์ธรรมชาติหรือช่วยลดภาวะโลกร้อน เช่น  การท่องเที่ยวในเกาะสมุย หรือ
  • War tourism  ที่นักท่องเที่ยวต้องการสัมผัสกับอดีตในสมัยสงคราม เช่น  การท่องเที่ยวสะพานข้ามแม่นํ้าแคว จังหวัดกาญจนบุรีหรือ
  • Volunteer tourism  ที่นักท่องเที่ยวเป็นอาสาสมัครมาช่วยทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ในสถานที่และเดินทางท่องเที่ยวต่อ เช่น การที่มีอาสาสมัครมาช่วยงานสึนามิในประเทศไทย เป็นต้น
  • Youtuber tourism อันนี้ผู้เขียนเพิ่มให้นะครับ จะเห็นกระแสของโลก มันเปลี่ยนไปแล้ว ในยุคนี้โซเชี่ยลเนตเวิร์ค มันเลยเปลี่ยนรูปแบบใหม่ไปตามกระแส การท่องเที่ยวปัจจุบันนี้สามารถทำรายได้ให้กับนักท่องเที่ยวอีกด้วย อย่างเช่น Youtuber ที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลกเดินทางมาประเทศไทย เพื่อต้องการ content การเที่ยวสงกรานต์ในประเทศไทย หลังจาก Covid-19 เป็นต้น

บทโดยสรุป การท่องเที่ยวในประเทศไทย มีหลากหลายขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเอง และขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม ผลของการท่องเที่ยวจะเกิดมิติในแง่บวกหรือลบ ขึ้นอยู่กับนักท่องเที่ยวว่ามีพฤติกรรมอย่างไร และการท่องเที่ยวไม่ได้ถูกจำกัดว่า “ไม่เกิดรายได้” อีกต่อไปแล้ว ปัจจุบันนี้รายได้จากยอดวิว Social Media รายได้จากการขายภาพ Digital ท่องเที่ยว ก็เป็นการสร้างรายได้ในรูปแบบใหม่ของยุคนี้

ธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศเริ่มกันเมื่อไหร่?

        การท่องเที่ยวในประเทศไทยได้เริ่มจัดทำเป็นธุรกิจอย่างจิงจังเมือประมาณปี พ.ศ.2512 – 2517 ซึ่งทหารอเมริกันได้ทำสงคราม กับเวียดนามแล้วตั้งฐานทัพอยู่ที่ประเทศไทยเมื่อเสร็จภาระกิจแล้วก็จะได้หยุดพักผ่อน ทหารเหล่านั้นมักจะเดินทางมาเที่ยวกรุงเทพๆ แถวๆเพชรบุรีตัดใหม่ ซึ่งเฟื่องฟูมากอีกส่วนหนึ่งจะเดินทางไปเล่นน้ำทะเลที่ชายหาดพัทยาช่วงนี้เองได้มีการตั้ง บริษัทไดมอนโค้ช ซึ่ง ทางบริษัทได้นำรถปรับอากาศมาบริการขนส่งทหาร จากฐานทัพไปสู่แหล่งท่องเที่ยวต่างๆจากจุดเริ่มต้น ตรงนี้เองบริษัททัวร์รอยัลจึงมีความคิดในการจัดทัวร์แบบครบวงจรขึ้นมาโดยบริการนักท่องเที่ยวด้วยรถบัสปรับอากาศ จัดหาที่พัก อาหารอย่างดี มีมัคคุเทศก์ให้ บริการตลอดเวลาของการเดินทางท่องเที่ยวตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุด ของการเดิน
ทาง และการท่องเที่ยวแบบ นี้ได้รับความนิยม และแพร่หลายจนปัจจุบันวึ่งถือว่าการท่องเที่ยวไทยได้เริ่มกันอย่างจริง ๆ จังๆมีระยะเวลาในการพัฒนาการเพียงแค่ 20 กว่าปี และถือว่าได้พัฒนา รูปแบบการท่องเที่ยวได้อย่างรวดเร็วและ กว้างขวางจนน่าเป็นห่วง    

การท่องเที่ยวกับสถาบันการท่องเที่ยว

ในปี พ.ศ. 2502 คณะปฏิวัติโดยการนำของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวจึงได้จัด องค์การอิสระขึ้นเรียกว่า “องค์การส่งเสิริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” (อ.ส.ท) และนับแต่นั้นมา อ.ส.ทก็ดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยว อย่างกว้างขวาง ก้าวหน้าได้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน

จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2522 อ.ส.ท ได้ยกฐานะขึ้นเป็น “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” (ท.ท.ท.) และได้ขยายเขตคุ้มครองของการปฏิบัติงานเกี่ยวกับธุรกิจการท่องเที่ยวขึ้นอย่างกว้างขวาง

ความหมายของการท่องเที่ยวในประเทศไทย

เราใช้คำว่า “ไปเที่ยว” มาช้านานมีความหมายว่าไปไหนต่อไหนทั้งใกล้และไกล เพื่อความ สนุสนานเพลิดเพลินต่อมาประมาณ พ.ศ. 2480 รัฐมนตรีได้พิจารณาว่าคำว่า “ท่องเที่ยว” หรือ “เที่ยว” มีนัยไปใน ทางเที่ยวเตร่เหลวไหลจึงได้ให้นักปราชญ์ในสมัยนั้นคิดคำขึ้นใหม่ และได้คำว่า “ทัศนาจร” สำหรับการท่องเที่ยว และ “นักทัศนาจร” สำหรับนักท่องเที่ยว แต่ประเทศไทยก็ได้ใช้คำนี้กันอยู่พักหนึ่งแต่ไม่ค่อยนิยมแพร่หลายมากนักและ คำว่า “ท่องเที่ยว” ก็ ติดอยู่ใน ภาษาไทย จนถึงปัจจุบัน
และคำว่า “ท่องเที่ยว” ก็มิได้มีความหมายเช่นเดียวกับคำ “ไปเที่ยว” หรือเที่ยวแต่หากมีความหมายอย่างเป็นงานเป็นการอย่างหนึ่งโดยเฉพาะเป็นการปฏิบัติงานที่มีระบบ จนเรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมชนิดหนึ่งและเรื่องการท่องเที่ยวได้พัฒนาขึ้นเป็นวิชาการแขนง หนึ่งซึ่งต้องศึกษา กัน อย่างจริงกัน

ความหมายของนักท่องเที่ยว

การจัดจำพวกนักท่องเที่ยวได้แบ่งตามลักษณะของการท่องเที่ยวดังนี้

  1. Tourist หมายถึง นักท่องเที่ยวที่เดินทางจากที่พักอาศัยของตน ได้ไปพักแรกที่ไหนแห่งหนึ่งชั่วคาบเวลาหนึ่งเกิน 24 ชั่วโมง บางประเทศก็เรียกว่า Night visitor (มีการค้างคืนอย่างน้อย 1 คืน) แต่ไม่เกิน 90วัน เป็นการเดินทางโดยสมัครใจ ด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตามที่มิใช่การไปประกอบอาชีพ หรือหารายได้ทั้งนี้ ผู้โดยสารมาทางเรือสำราญทางทะเลแล้วไม่พักค้างคืนบนฝั่งไม่นับเป็น
    • นักท่องเที่ยวจำแนกเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ หรือนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศ(Foreign Tourists or International Tourists) หมายถึง นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย
    • นักท่องเที่ยวภายในประเทศ (Domestic Tourists) หมายถึง นักท่องเที่ยวที่มีถิ่นที่อยู่หรือที่พำนักถาวรในประเทศไทยในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นชาวไทยหรือชาวต่างชาติที่พำนักอาศัยถาวรอยู่ในประเทศไทยก็ได้และมีการเดินทางท่องเที่ยวไปในจังหวัดอื่นๆ
  2. Excursionist หมายถึง นักท่องเที่ยวแบบเช้าไป เย็นกลับ หรือกลับมาถึงบ้าน ภายใน 24 ชั่วโมงโดยไม่พักแรม ณ ที่ใด บางประเทศก็เรียกว่า Day visitor
  3. Visitor หมายถึง ผู้มาเยือน มีความหมายอย่างเดียวกับ Tourist แต่เป็นคำที่ประเทศหนึ่งใช้เรียกนักท่องเที่ยวจากประเทศ อื่น ที่เข้ามาในประเทศของตนและบางทีก็เรียกว่า Foreign Visitor

ลักษณะของนักท่องเที่ยว

จัดจำพวกนักท่องเที่ยวตามภูมิศาสาตร์การเดินทาง ได้ดังนี้

  • Domestic tourist (นักท่องเที่ยวโดเมสติก) หมายถึง นักท่องเที่ยวภายในประเทศนั่นเอง ที่กิน เที่ยวอยู่ในประเทศของตน จากบ้านของตนเอง ไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ทั่วประเทศไทย จับจ่ายใช้สอย เศรษฐกิจหมุนเวียนอยู่ภายในประเทศตนเอง ด้วยเงินสกุลของตนเอง
  • Inbound tourist (นักท่องเที่ยวอินบาวน์) หมายถึง นักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวประเทศใดประเทศหนุ่ง โดยเข้ามาจับจ่ายใช้เงินของเขาเองจากสกุลเงินของแต่ละประเทศ ที่นำติดตัวมา หรือจ่ายเงินอิเลคทรอนิค ในระยะเวลาที่อยู่ภายในประเทศนั่น ซึ่งทำให้การหมุนเวียนเงินจากภายนอกเข้าสู่ภายใน นั่นเอง
  • Outbound tourist (นักท่องเที่ยวเอาท์บาวน์) หมายถึง คนของประเทศหนึ่ง ออกเดินทางนอกราชณาจักรของตนเอง เพื่อไปท่องเที่ยว ด้วยวั๖ถุประสงค์ใดๆ ก็ตาม โดยใช้เงินสกุลของตนเอง ออกไป เพื่อนำไปใช้จ่ายยังนอกประเทศของตนเอง คือความหมาย เอาเงินออกไปใช้นอกประเทศนั่นเอง

ดังนั้น จึงสามารถให้คำนิยามของการท่องเที่ยวได้ว่า ” การท่องเที่ยว” คือ การเดินทางที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นเป็นการ ชั่วคราว เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจและต้องเดินทางกลับที่เดิม

องค์ประกอบสำคัญในการท่องเที่ยว สำหรับแหล่งท่องเที่ยว

แน่ละครับยุคปัจจุบันนี้ ได้ถูกพัฒนาการ รวมกับองค์ความรู้ที่สะสมมา รวมถึงหัวใจของการบริการ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่พัฒนาอย่างก้าวหน้า รุดหน้ามากว้างขวาง

แหล่งท่องเที่ยวเป็นการผสมผสานระหว่างผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว ประสบการณ์และการนำเสนอทรัพยากรที่จับตัองไม่ได้อื่นๆ แก่ผู้บริโภค สิ่งสำคัญ คือแหล่งท่องเที่ยวเป็นสถานที่ซึ่งนักท่องเที่ยวจะเดินทางมาเยี่ยมชม หรือพักอาศัยนั่นเอง

Pike Steven (2008) กล่าวถึงคุณลักษณะของแหล่งท่องเที่ยวว่า

ดังนั้นแหล่งท่องเที่ยวควรประกอบด้วยองค์ประกอบ 6 ประการ (6A’s) ดังนี้

  1. ความสามารถในการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยว (Available Package)เป็นการจัดการท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวรู้สึกถึงความสะดวกรวดเร็ว รู้ถึงแหล่งท่องเที่ยว ในสถานที่ที่จะเดินทางไป เพื่อใหค้รอบคลุมกับวัตถุประสงคข์องการเดินทางท่องเที่ยว
  2. ความสามารถในการเข้าถึง (Accessibility) ได้แก่การมีระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม เช่น สนามบิน ระบบคมนาคม ตลอดจนบริการดา้นอุตสาหกรรมขนส่ง เช่น การขนส่งทางอากาศ ทางบกและทางน้ำ ซึ่งจะเอื้ออำนวยให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทาง หรือแหล่งท่องเที่ยว (Attraction) ได้อย่างสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยั
  3. สิ่งดึงดูดใจ (Attraction) นับเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญที่สุด เพราะเป็นจุดดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวอาจเป็นแหล่งธรรมชาติที่มีความโดนเด่น หรือแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
  4. สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) ได้แก่ โรงแรม รีสอร์ท และ โฮมสเตย์ Bed & Breakfast และ Guest House โดยที่พกัแรมประเภทต่างๆ จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกในระดับที่แตกต่างกันซึ่งจะทำให้มีราคา และบริการหลากหลายระดับที่แตกต่างกันอีกด้วย เช่น ภัตตาคาร บาร์ ฟิตเนสเซ็นเตอร์ สระว่ายน้ำ ซาวน่า และสิ่งอำนวยความสะดวก อื่นๆ เป็นตน้
  5. กิจกรรม (Activities) นับเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เช่นกันในยุคปัจจุบัน ซึ่งการท่องเที่ยวมิได้หมายเพียงแค่การเดินทางไปชมโบราณสถาน อนุสาวรีย์ความงดงามของป่าไม้ธรรมชาติหากความสำคัญสำหรับผู้มาเยือน คือการได้มีโอกาสทำกิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น การเดินป่า เพื่อศึกษาระบบนิเวศเขตเส้นศูนย์สูตรในป่าดิบชื้น การล่องแก่งในแม่น้ำ ของท้องถิ่น การปีนหน้าผา การดำ น้ำ รูปแบบ Scuba Diving หรือ Snorkeling การพายเรือแคนูบริเวณป่าชายเลน การตกปลาหมึกในทะเลลึก ตลอดจนการร่วมทา กิจกรรมกับชุมชนท้องถิ่น เช่น การไถนา การดำนา การเกี่ยวข้าว การร่วมพิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดจะเป็นประสบการณ์ที่อยู่ในความทรงจำของนักท่องเที่ยว และกิจกรรมดังกล่าวมักก่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น
  6. การให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว (Ancillary Service) ได้แก่ ทั้งหมดที่มีให้นักท่องเที่ยว อาทิเช่น บริการด้านร้านอาหาร โรงพยาบาล ไปรษณีย์ สถานีบริการน้ำมัน ร้านค้า ร้านขายของที่ระลึก ห้องสุขา เป็นต้น

สรุปได้ว่า อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นแหล่งที่ช่วยกระตุ้นให้มีการนำ เอาทรัพยากรของประเทศไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งประกอบไปด้วยธุรกิจและการบริการ สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักท่องเที่ยว องค์ประกอบสำคัญในการท่องเที่ยว สำหรับแหล่งท่องเที่ยวนั่น ควรมีองค์ประกอบหลัก 6 ประการ (6A’s) ได้แก่ ความสามารถในการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยว(Available Package), ความสามารถในการเข้าถึง (Accessibility), สิ่งดึงดูดใจ (Attraction) สิ่งอำนวยความสะดวก(Amenities), กิจกรรม (Activities), การให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว (Ancillary Service) และการจะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวนั้นให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด
หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนควรที่จะต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อสร้างความร่วมมือ ร่วมกันวางแผน และประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวด้วย

ธุรกิจอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ประกอบไปด้วย 6 ธุรกิจหลัก คือ

  1. ธุรกิจนำเที่ยว
  2. ธุรกิจที่พักแรม
  3. ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
  4. ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก
  5. ธุรกิจคมนาคมขนส่ง
  6. ธุรกิจนันทนาการและธุรกิจเพื่อความบันเทิง

1.ธุรกิจนำเที่ยว ในกฎกระทรวง พ.ศ.2536

ออกตามความในพระราช บัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.2535 ได้แบ่งธุรกิจนำเที่ยวออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

  1. ธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ คือ การประกอบธุรกิจนำเที่ยวไปยังสถานที่หนึ่งสถานที่ใด ในจังหวัดหนึ่งจังหวัดใด และจังหวัดที่มีเขตพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดนั้น
  2. ธุรกิจนำเที่ยวในประเทศ คือ การประกอบธุรกิจนำเที่ยวไปยังสถานที่หนึ่งสถานที่ใด ภายในราชอาณาจักรไทย
  3. ธุรกิจนาเที่ยวต่างประเทศ คือ การประกอบธุรกิจนำเที่ยวไปยังสถานที่หนึ่งสถานที่ใดในต่างประเทศ หรือนำเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ไปยังสถานที่หนึ่งสถานที่ใดภายในประเทศ

บริษัทนำเที่ยวในประเทศไทยดำเนินการแบบไหนบ้าง?

ส่วนใหญ่จะดำเนินการในรูปแบบบริษัทบริการนำเที่ยวซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ประเภทได้แก่

  1. บริษัทการนำเที่ยวเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างประเทศ(Inbound Tour Operator)
  2. บริษัทบริการนำเที่ยวต่างประเทศ(Outbound Tour Operator) ดูรายละเอียดของบริษัทฯฮอลิเดย์ไลฟ์ แทรเวล
  3. บริษัทนำเที่ยวภายในประเทศ(Domestic Tour Operator)
  4. บริษัทบริการนำเที่ยวในท้องถิ่น(Local Tour Operator)
  5. บริษัทบริการนำเที่ยวหลายลักษณะ (variety of tour operator)

ขอบเขตของการให้บริการของบริษัทนำเที่ยว

ขอให้ข้อมูลความหลากหลายของบริการของบริษัทนำเที่ยวในประเทศไทยโดยมีขอบเขตถูกกำหนดโดยใบอนุญาตที่ได้รับ

  1. บริการนำเที่ยวจากมัคคุเทศก์ บริษัทนำเที่ยวอาจมีบริการนำเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยว ทั้งในประเทศและต่างประเทศใน รูปแบบมัคคุเทศก์นำชม
  2. บริการรับส่งในลักษณะ Transfer In, Transfer Out จากสนามบิน-โรงแรมหรือโรงแรม-สนามบิน
  3. บริการจัดรายการนำเที่ยวหรือจัดนำเที่ยว โดยอาจพิมพ์หรือแสดงรายละเอียดของโปรแกรมท่องเที่ยว วันเวลาสถานที่ ท่องเที่ยวค่าใช้จ่ายและอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดนำเที่ยวไปในที่หนึ่งที่ใด อาจเป็นไปตามความต้องการของลูกค้าเองก็ได้ โดยมากมักเป็นการจัดรายการนำเที่ยวในลักษณะที่พิมพ์ออกมา เป็นรูปเล่ม แผ่นพับ โบชัวร์ หรือโฆษณาในนิตยสารต่าง ๆ เพื่อเสนอขายแก่ลูกค้าหรือนักท่องเที่ยว หรือจัดนำเที่ยวตามความต้องการของนักท่องเที่ยว
  4. บริการจองตั๋วเดินทาง เช่น รับจองตั๋วเครื่องบิน ตั๋วเรือสำราญ เป็นต้น
  5. บริการรับจองโรงแรมหรือที่พักให้กับนักท่องเที่ยว ทั้งในและต่างประเทศ
  6. บริการด้านการขนส่ง บางบริษัทอาจรับขนส่งพัสดุภัณฑ์ หรือรับส่งนักท่อง เที่ยวระหว่างการท่องเที่ยว
  7. บริการจองร้านอาหาร และบัตรเข้าชมการแสดง เช่น ขันโตกดินเนอร์ อัลคาซ่าร์โชว์ ภูเก็ตแฟนตาซี เป็นต้น
  8. บริการรับแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศให้แก่นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะบริษัทที่ตั้งอยู่ในย่านที่มีนักท่องเที่ยวอยู่มาก
  9. บริการติดต่อหาสถานศึกษาในต่างประเทศ บริษัทนำเที่ยวหลายๆ แห่งให้บริการหาสถานศึกษาระดับต่างๆ ในต่างประเทศ
  10. บริการจัดทำหนังสือเดินทางและวีซ่า หลายบริษัทก็รับจัดทำวีซ่าแทบทุกประเทศ แต่บางบริษัทก็รับทำวีซ่าเฉพาะบาง ประเทศเท่านั้น
  11. บริการให้คำปรึกษา แนะนำการเดินทางท่องเที่ยว

2.ธุรกิจที่พักแรม

โรงแรมในประเทศไทยอาจแบ่งกลุ่มตามวิธีการบริหารจัดการเป็น 3 กลุ่ม คือ

  • โรงแรมที่บริหารจัดการโดยเจ้าของ
  • โรงแรมที่บริหารจัดการโดยเครือข่ายการจัดการ(Management Chain) ของท้องถิ่น
  • โรงแรมที่บริหารโดยเครือข่ายนานาชาติ

โรงแรมที่บริหารจัดการโดยเจ้าของ

โรงแรมที่บริหารจัดการโดยเจ้าของ หรือโรงแรมอิสระ (Independent Hotels) หมายถึง โรงแรมที่ไม่มีความเป็นเจ้าของร่วมหรือข้อผูกพันทางด้านการบริหารจัดการกับโรงแรม อื่น (อนุพันธ์ กิจพันธ์พานิช, 2546) เจ้าของโรงแรมจึงสามารถกำหนดนโยบายและวิธีการ บริหารของตนได้โดยอิสระ ทั้งนี้เจ้าของมีการว่าจ้างผู้ที่มีความรู้ และประสบการณ์มาเป็น ผู้จัดการ หรือตำแหน่งอื่นๆ แต่เจ้าของมักจะติดตามการทำงานอย่างใกล้ชิด

โรงแรมที่บริหารจัดการโดยเครือข่ายการจัดการของท้องถิ่น(Local Chains)

เครือข่ายโรงแรมท้องถิ่นพัฒนาขึ้นพร้อมๆ กับการเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเจ้าของโรงแรมที่ประสบ ความสำเร็จจากโรงแรมแห่งแรกของตน เริ่มขยายธุรกิจโดยการสร้างห้องพักเพิ่มขึ้นหรือสร้างโรงแรมแห่งใหม่ของตน จึงเริ่มมีกลุ่มโรงแรมในประเทศเกิดขึ้น กลุ่มโรงแรมบางกลุ่มนอกจากจะบริหารโรงแรมที่ตนเองเป็นเจ้าของแล้ว ยัง ขยายธุรกิจด้วยการรับจ้างบริหารโรงแรมให้แก่เจ้าของอื่น โดยรับค่าจ้างบริหาร(Management Fee) หรือขายสิทธิใน การใช้ชื่อ และเครื่องหมายการค้า(Franchise) เครือข่ายเหล่านี้บางรายก็อาศัยประสบการณ์และการเรียนรู้จากการจ้าง บริษัทต่างประเทศ เช่น เครือเซ็นทรัล ส่วนเครือดุสิตอาศัยการสร้างคู่มือการบริหารจากความช่วยเหลือของนักวิชาการ ต่างประเทศ และเครืออมารีอาศัยการจ้างมืออาชีพชาวต่างประเทศมาจัดตั้งระบบงานทั้งหมด

เครือข่ายโรงแรมขนาดใหญ่ของไทย

  • เครือดุสิต
  • เครืออิมพีเรียล
  • เครืออมารี
  • เครือเซ็นทรัล
  • เครือโรงแรมเอเชีย
  • เครือโรงแรมสยาม
  • เครือแอมบาสเดอร์ เครือแอมบาสเดอร์

โรงแรมที่บริหารโดยเครือข่ายนานาชาติ

  • เครือ Accor กลุ่ม Accor มีโรงแรมในเครือที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ดังนี้
    ใช้ชื่อการค้า “Sofitel” 4 แห่ง ซึ่งเป็นโรงแรมในกรุงเทพฯ 2 แห่ง คือ “Sofitel Central Plaza” และ “Sofitel Silom” และต่างจังหวัดอีก 2 แห่งคือ “Sofitel Central Hua Hin Resort” และ “Sofitel Raja Orchid” ขอนแก่น
  • ใช้ชื่อการค้า “Novotel” 8 แห่ง เป็นโรงแรมในกรุงเทพฯ 3 แห่ง คือ “Novotel Bangkok” “Novotel Lotus” “Novotel Bangna” และต่างจังหวัดอีก 5 แห่ง คือ “Novotel Chiang Mai” “Novotel Coralia Rim Pae” จังหวัดระยอง “Novotel Coralia Phuket” “Novotel Central Sukhontha” ในอำเภอหาดใหญ่ “Novotel Coralia Magic Lagoon Khao Lak” จังหวัดพังงา
  • ใช้ชื่อการค้า “Mercure” 3 แห่ง ได้แก่ “Mercure Hotel Chonburi” “Regency Park Bangkok(Associated Mercure)” และ “Panwa Beach Resort(Associated Mercure)” ในจังหวัดภูเก็ต
  • เครือ Starwood กลุ่ม Starwood มีโรงแรมในเครือในประเทศไทย โดยจำแนกตามชื่อการค้าได้ดังนี้
  • “Westin” ได้แก่ “The Westin Grande Sukhumvit”
  • “Sheraton Grande” ได้แก่ “Sheraton Grande Sukhumvit”และ“Sheraton Grande Laguna Phuket”
  • “Sheraton” ได้แก่ “The Royal Orchid Sheraton Hotel&Towers” “Sheraton Krabi Beach Resort” และ“Sheraton Chiangmai”
  • “The Luxury Collection” ได้แก่ “Rayavadee The Luxury Collection” ที่จังหวัดกระบี่
  • เครือ Mandarin Oriental
  • โรงแรมในประเทศไทยที่บริหารจัดการโดยกลุ่ม Four Seasons มี 2 แห่ง คือ โฟร์ซีซั่น รีสอร์ทเชียงใหม่ และโฟร์ซีซั่นกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นกิจการของบริษัทรอยัลการ์เด้น รีซอร์ท จำกัด(มหาชน)
  • เครือ Four Seasons
  • โรงแรมในประเทศไทยที่บริหารโดยกลุ่ม Mandarin Oriental คือ โรงแรมโอเรียนเต็ล ซึ่งก่อตั้งในปี พ.ศ.2519 ในนาม บริษัทไทยโรงแรม จำกัด และกลุ่มอิตัลไทยได้เข้าซื้อกิจการในปี พ.ศ.2510 และกลุ่ม Mandarin Oriental ได้เข้าร่วมลงทุน และบริหารจัดการในปี พ.ศ.2528 ปัจจุบันกลุ่ม Mandarin Oriental ยังรับบริหารจัดการให้กับโรงแรมดาราเทวี ซึ่งเป็นที่พักแบบ City Resort ในจังหวัดเชียงใหม่
  • เครือ Mandarin Oriental
  • เครือ Peninsula กลุ่ม Peninsula มีโรงแรมในเครือที่อยู่ในกรุงเทพฯ คือ The Peninsula Bangkok ซึ่งกลุ่ม Peninsula มีสัดส่วนการถือหุ้นในโรงแรมดังกล่าวประมาณร้อยละ 75 (ปี พ.ศ.2545)
  • เครือ Banyan Tree โรงแรมในประเทศไทยที่อยู่ในเครือของ Banyan Tree คือ บันยันทรีภูเก็ต และบันยันทรีกรุงเทพฯ สำหรับบันยันทรีภูเก็ต นั้นที่พักแบบจากุชชี่วิลล่า จำนวน 121 หลัง เปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ.2538 โดยบริษัท ลากูน่า รีสอร์ต แอนด์ โฮเท็ล จำกัด(มหาชน) ซึ่งเป็นธุรกิจในกลุ่มไทยวา
  • ช. เครือ Shangri-La โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ เป็นโรงแรมเพียงแห่งเดียวของกลุ่ม Shangri-La ในประเทศไทย โรงแรมนี้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2524 จากการร่วมทุนของกลุ่มนํ้าตาลไทยรุ่งเรือง และนายค๊อก ฮ๊อค เนียน นักลงทุนจากประเทศฮ่องกง ปัจจุบันโรงแรมนี้มีห้องพักทั้งหมด 850 ห้อง ซึ่งถือว่าใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโรงแรมในประเทศไทย รองจากและแอมบาสเดอร์ซิตี้จอมเทียน และอิมพีเรียลควีนสปาร์ค

3.ธุรกิจบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม

  • ธุรกิจอาหารจานด่วน(Fast-Food)
  • ธุรกิจอาหารสาเร็จรูปเดลี่(Deli Shop)
  • ธุรกิจอาหารบุฟเฟต์(Buffet)
  • ธุรกิจค้อฟฟี้ช้อพ(Coffee Shop)
  • ธุรกิจคาเฟทีเรีย(Cafeteria)
  • ธุรกิจอาหารกูร์เมต์(Gourmet)
  • ธุรกิจอาหารสาหรับคนเฉพาะกลุ่ม

4.ธุรกิจจำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก

ธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึกเป็นธุรกิจการให้บริการจำหน่ายสินค้าประเภทที่ระลึกแก่นักท่อง เที่ยว นับเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้การเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวมีชีวิตชีวาออกรสชาติยิ่งขึ้น เมื่อได้มี โอกาสจับจ่ายใช้สอยซื้อของที่ระลึก ตามปกตินักท่องเที่ยวมักนิยมซื้อสินค้าที่ระลึกในท้องถิ่นที่เข้าไป ท่องเที่ยว เพื่อนำไปใช้เองหรือเก็บไว้เป็นที่ระลึกหรือนำไปฝากญาติมิตรโดยมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก เมื่อเดินทางกลับภูมิลำเนาแล้วมักจะนำประสบการณ์ที่ประทับใจไปเล่าให้ญาติมิตรฟังถึงความตื่นเต้น ที่จะได้สินค้าที่ระลึกชิ้นนี้มาหรือสาธยายถึงกรรมวิธีการผลิตสินค้าที่ระลึกชิ้นนี้ตามที่ตนได้พบเห็นมา โดยสินค้าที่ระลึกมักมีลักษณะที่สำคัญอยู่ 7 ประการดังต่อไปนี้คือ

  1. เป็นสินค้าเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่ไปเที่ยว
    เป็นสินค้าที่เมื่อเอ่ยถึงทุกคนก็รู้ถึงหรือเดาที่มาของสินค้านั้นได้ หรือเมื่อยามเห็นสินค้านี้ก็ให้นึกถึงสถานที่ซื้อได้ เช่นเครื่องแกะสลักเมืองแพร่ เครื่องเงินเชียงใหม่ เครื่องถมเมืองนครศรีธรรมราช ข้าวหลามนครปฐม ลำไยลำพูน ลิ้นจี่เมืองฝาง เป็นต้น
  2. เป็นสินค้าหายาก
    เป็นสินค้าที่แหล่งท่องเที่ยวนั้นเป็นต้นกำเนิดหรือมีชื่อเสียงในการผลิตสินค้าที่ระลึกประเภทนี้ ทำให้แน่ใจว่าได้สินค้าที่เป็นของแท้หรือมีราคาถูกกว่าที่อื่น เช่นอัญมณี หินแร่บางชนิด สารสมุนไพรบางชนิด ศิลปวัตถุโบราณ เป็นต้น
  3. เป็นสินค้าที่มีราคาถูกกว่าที่วางขายในภูมิลำเนาของนักท่องเที่ยว
    เป็นสินค้าใช้สอยที่นักท่องเที่ยวใช้ประจำวัน แต่มีราคาถูกกว่าที่ซื้อในภูมิลำเนาของนักท่องเที่ยวเอง เช่นเสื้อผ้า เครื่องสำอาง เครื่องหนัง อาหารแห้ง ภาชนะใช้ในครัวเรือน บุหรี่ เหล้า เป็นต้น
  4. เป็นสินค้าที่ออกแบบผลิตภัณฑ์แปลกหรือมีประโยชน์ใช้สอย
    เป็นสินค้าที่มีความแปลกใหม่ในการออกแบบหรือมีประโยชน์ใช้สอยพิเศษ เช่นเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก ที่ใส่ภาชนะหีบห่อสวยงาม อุปกรณ์แกะสลัก พวงกุญแจ ของเลียนแบบโบราณ ตุ๊กตา เป็นต้น
  5. เป็นสินค้าที่มีรูปร่าง ขนาด และนํ้าหนักเหมาะสมต่อการขนส่ง
    เป็นสินค้าที่ไม่เปราะบางหรือชำรุดง่าย ถ้าหากสินค้ามีจุดอ่อนดังกล่าวต้องหาทางแก้ไข เช่นมีการบรรจุหีบห่อที่มีประสิทธิภาพ การออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีนํ้าหนักน้อยและมีขนาดเล็กลง เป็นต้น
  6. เป็นสินค้าที่ใช้วัสดุและแรงงานในท้องถิ่นนั้น
    เป็นสินค้าที่นำวัสดุเหลือใช้ไร้ค่ามาแปรรูปเป็นสินค้าที่ระลึก ซึ่งจะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม นอกจากนั้นการใช้แรงงานเด็กและสตรีนอกเวลางานประจำมาประดิษฐ์สินค้า ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
  7. เป็นสินค้าที่มีการแสดงขั้นตอนการผลิตให้นักท่องเที่ยวเห็นหรือทดลองทำ
    เป็นสินค้าที่แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการผลิต เพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจและเห็นคุณค่าของสินค้านั้น เช่นให้นักท่องเที่ยวเก็บผลไม้ด้วยตัวเอง การวาดลายร่มให้นักท่องเที่ยวชม การทอผ้าให้นักท่องเที่ยวชม เป็นต้น

5.ธุรกิจคมนาคมขนส่ง

การบริการขนส่งในเชิงพาณิชย์ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการขนย้ายผู้โดยสารและสินค้าจากจุด หนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แต่การขนส่งที่นับว่ามีอิทธิพลกับท่องเที่ยวโดยตรงก็คือ การขนส่ง ผู้โดยสาร การขนส่งนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจแบ่งออกตามรูปแบบการขนส่งได้ 4 ประเภท

  • การขนส่งทางบก(Land Transportation) รถยนต์ รถเช่า รถไฟ มอเตอร์ไซต์ จักรยาน
  • การขนส่งทางนํ้า(Water Transportation) เรือนำเที่ยว เรือสำราญระหว่างประเทศ
  • การขนส่งทางอากาศ(Air Tran- sportation) สายการบินต่างๆ ทั่วโลก
  • การขนส่งทางท่อ(Tube Transportation)

6. ธุรกิจหรือแหล่งนันทนาการเพื่อการท่องเที่ยว(Commercial Recreation Tourism)


ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมและการบริการเพื่อตอบสนองความต้องการ หรือวัตถุประสงค์ใน การเดินทางของนักท่องเที่ยว ซึ่งจะได้ผลกำไรจากการให้บริการ การเข้าร่วมกิจกรรมหรือชมการ แข่งขันกีฬา การเข้าร่วมการแข่งขันและเล่นกีฬา การใช้บริการศูนย์สุขภาพ(Fitness Center) การฟื้นฟู สุขภาพจากสถานที่แหล่งธรรมชาติ การเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาผจญภัย รวมทั้งการจัดประชุม อบรม สัมมนาเกี่ยวกับการกีฬา เป็นต้น ธุรกิจหรือแหล่งนันทนาการในการท่องเที่ยวมักจะดำเนินการโดย ภาคเอกชนแต่ก็มีไม่น้อยที่รัฐบาลเป็นเป็นผู้จัดสร้างเพื่อให้ผู้คนมาพักผ่อนหย่อนใจ

ประเภทธุรกิจหรือแหล่งนันทนาการ

จำแนกตามสถานที่นันทนาการ ดัดแปลงจากแนวคิดของชับบ์และชับบ์(Chubb and chubb, 1981) ได้แบ่งประเภทธุรกิจนันทนาการตามสถานที่เป็น 10 ประเภท ได้แก่

  • ศูนย์การค้า
  • ภัตตาคาร
  • ศูนย์รวมทางสังคม
  • อุทยานสวนสนุก
  • พิพิธภัณฑ์
  • สวนหย่อมและสวนพักผ่อน
  • โรงมหรสพหรือโรงละคร
  • สนามกีฬาและศูนย์ออกกาลังกาย
  • สถานที่พัก ค่ายพักแรม โรงแรมและรีสอร์ท
  • สวนและฟาร์ม

บทสรุปของ การท่องเที่ยว

สั้นๆ เลยคือ การเดินทางเคลื่อนย้ายจากถิ่นฐานเดิมที่อยู่เป็นกิจวัตร ไปยังสถานที่อีกแห่งหนึ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ ในการพักผ่อนหย่อนใจ เพื่อธุรกิจ เพื่อการทำงาน เพื่อการประชุม เพื่อการเรียน เพื่อการกีฬา เพื่อเยี่ยมเยือนเพื่อนฝูงญาติพี่น้อง เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดการจับจ่ายเงินไหลเข้าประเทศจากคนต่างชาติ หรือเงินหมุนเวียนภายในประเทศที่ผู้คนภายในประเทศจับจ่ายกันเอง และก่อให้เกิดการกระจายรายได้เข้าสู่ชุมชนรากหญ้า

คุณต้องเข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น.