มารยาทการทานอาหารยุโรป ที่ไม่เคยรู้มาก่อน ตอนที่ 1

มารยาทการทานอาหารยุโรป ต้องบอกว่าเราเคยเข้าใจผิด หรือทำไปโดยไม่รู้สึกว่ามันไม่ใช่สิ่งที่คนทั่วไปในยุโรปเขาทำกัน เวลาเราอยู่ในงานเลี้ยงในโรงแรมหรูๆ หรืองานเลี้ยงทั่วไปในภัตตาคาร หรือเราเดินทางท่องเที่ยวไปในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะในยุโรป เราย่อมพบกับการ่วมโต๊ะอาหาร ในสไตล์ยุโรป กันแน่ละ ทุกคนคงมีประสบการณ์ครั้งแรกที่ทำไม่ถูกเหมือนกันว่าจะเริ่มต้นอย่างไรก่อน จนทำให้เราประหม่าขาดความมั่นใจไปเลยทีเดียว บางท่านก็อาจจะได้รับการบอกกล่าวต่อๆกันมาจากเพื่อน จากญาติ จากพ่อแม่ พี่น้อง ที่มีประสบการณ์ แต่ก็ยังมีความเข้าใจกันผิดๆ และทำไปโดยที่ไม่รู้ตัวว่ามันไม่ใช่…. เลยรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ หรือจากบทความของต่างประเทศว่า อะไรควร อะไรไม่ควร ในการนั่งโต๊ะรับประทานอาหาร ในแบบของชาวยุโรป ซึ่งต้องบอกว่าเป็นหลัก โดยรวมสากล และบางประเทศอาจจะมีแบบฉบับท้องถิ่นแตกต่างกันไปบ้าง แล้วคอยลงบทความอีกครั้ง

มารยาทการทานอาหารยุโรปจำเป็นเหรอต้อง มารยาทเป๊ะๆ

แนะนอนครับ เวลาเราไปเยี่ยมเยือน บ้านญาติ บ้านเพื่อน ต่างถิ่น สิ่งที่น่านับถือและเป็นที่ประทับใจของเพื่อนบ้าน คือการรู้จักทำเซอร์ไพรส์ การมีมารยาทที่ถูกต้องอย่างน้อยที่โต๊ะอาหาร ก็ถือว่าเป็นการให้เกียรติกับเจ้าของบ้าน ให้นึกตัวเราเองเป็นหลัก หากมีเพื่อนๆ ที่มาเยี่ยมเยือนเรา แล้วเขาให้เกียรติมีมารยาท ในการร่วมกิจกรรมต่างๆ ซึ่งถามว่าจำเป็นเหรอต้อง มารยาทเป๊ะๆ ก็ต้องบอกว่าขึ้นอยู่กับสถานะการณ์ หรืองานเลี้ยงที่สำคัญขนาดไหน แต่โดยรวมแล้วหากเราทำได้สมบรูณ์แบบ ก็เป็นผลดีและทั้งได้บุคคลิคภาพที่ดี มีมารยาท นั่นก็เป็นสิ่งที่เราควรปฏิบัติกับหมู่มิตร หรือสังคมโดยรวมใช่ไหมครับ..

12 ข้อหลักที่น่ารู้ มารยาทการทานอาหารยุโรป

1.อาหารยุโรปอย่างครบชุดและอุปกรณ์บนโต๊ะ

อาหารยุโรปเต็มชุดจะถูกนำมาเสิร์ฟทีละอย่าง ๆ ตามลำดับ, ส่วนการทานนั้นก็จะทานทีละอย่าง ๆ ตามลำดับจนจบ
ส่วนส้อมและมีดสำหรับรับประทานอาหารจะเปลี่ยนไปตามอาหารนั้น ๆ แต่จะถูกวางไว้เป็นเซ็ทบนโต๊ะอาหาร

ลำดับของอาหารชนิดครบชุด

  1. ออเดิร์ฟ + ขนมปังจะเสิร์ฟกันในช่วงนี้ด้วย
  2. ซุป
  3. อาหารจำพวกปลา
  4. อาหารจำพวกเนื้อ
  5. ไอศครีม
  6. อาหารจำพวกเนื้อ
  7. สลัดผัก
  8. ผลไม้
  9. กาแฟ

ในความเป็นจริง แม้จะเป็นดินเนอร์อย่างเป็นพิธีการ แต่ส่วนใหญ่จะมีการตัดอาหารบางอย่างออกไป เสิร์ฟอาหารจำพวกเนื้อเพียงครั้งเดียวบ้าง หรืออาจจะตัดไอศครีมออกไปบ้าง เป็นต้น

อุปกรณ์บนโต๊ะอาหาร (TABLE SET) มีดังนี้

https://als.net.au/pages/european-formal-dining-table-setting
1. จานรอง 2. ผ้าเช็ดปาก 3.ช้อนซุป
4. มีดออเดิร์ฟ 5.มีดหั่นปลา 6.มีดหั่นเนื้อ
7.ส้อมสำหรับทานเนื้อ 8.ส้อมสำหรับทานปลา 9.ส้อมสำหรับออเดิร์ฟ
10.จานใส่ขนมปัง 11.ช้อนกาแฟ 12.ส้อมสำหรับทานผลไม้
13.มีดหั่นผลไม้ 14. ช้อนไอศครีม 15. ที่ทาเนย
16. มีดตัดเนย 17. จานรองเนย 18. แก้วใส่น้ำเปล่า
19. แก้วแชมเปญ 20. แก้วใส่ไวน์แดง 21. แก้วใส่ไวน์ขาว

รายการอาหารอาจเปลี่ยนแปลงบ้างนิดหน่อย ขึ้นอยู่กับกฎระเบียบ หรือนโยบายของร้าน  อีกทั้งอุปกรณ์ใหม่ ๆ สำหรับทานอาหาร  ซึ่งไม่ปรากฏอยู่ในแผนภาพนี้ จะถูกนำมาวางไว้ พร้อม ๆ กับอาหารชนิดนั้น ๆ

2 ผ้ากันเปื้อน ไม่ใช่ของโชว์ ต้องหยิบใช้ทันที

ในภัตตาคารมีผ้ากันเปื้อนที่พับเอาไว้อย่างวิจิตรสวยงามตั้งไว้บนโต๊ะ แต่เมื่อกางออกก็เป็นเพียงผ้าสีเรียบ ๆ ผืนหนึ่ง พลอยทำให้รู้สึกว่าไม่อยากจะทำให้มันสกปรก แต่ในความเป็นจริง ผ้ากันเปื้อนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่ง ต้องใช้อย่างถูกต้องในโอกาสที่ควรใช้
หยิบผ้ากันเปื้อนวางบนตัก เหนือเข่าเล็กน้อย พับผ้ากันเปื้อนลงครึ่งหนึ่ง หันด้านปลายออกด้านนอกวางไว้เหนือเข่า การผูกไว้ที่คอบ้าง ที่อกบ้าง เป็นวิธีสำหรับเด็กเล็กเท่านั้น ใช้ขอบของผ้ากันเปื้อนเช็ดริมฝีปาก หรือปลายนิ้ว

ประโยชน์ของผ้ากันเปื้อนคือการใช้แบบนี้ ถึงแม้ว่าจะเรียกว่าเช็ด แต่ ในความจริงก็เพียงแต่ใช้แตะเบา ๆ เท่านั้น นอกจากวิธีนี้แล้วถือว่าเป็นการใช้ที่ไม่ถูกต้อง เมื่อทานเสร็จ วางผ้ากันเปื้อนไว้บนโต๊ะ
เมื่อลุกออกจากเก้าอี้ หลังรับประทานอาหารเสร็จแล้ว วางผ้ากันเปื้อนกองไว้บนโต๊ะด้านซ้ายมือ เพื่อแสดงว่าใช้เสร็จแล้ว ไม่ต้องพับให้เรียบร้อย

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับผ้ากันเปื้อน

ผ้ากันเปื้อนมีหน้าที่บางอย่างตรงกับผ้าเย็น ผ้าเช็ดหน้า หรือกระดาษเช็ดปาก แต่เพราะฉะนั้นจึงทำหน้าที่แทนสิ่งเหล่านั้นได้ทั้งหมด ความคิดนี้ไม่ถูกต้อง ผ้ากันเปื้อนมีข้อจำกัดในการใช้ และข้อห้ามในการใช้ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวอีกด้วย การเลือกใช้วิธีใด วิธีหนึ่งตามใจตัวเอง จะทำให้คนรอบข้างขมวดคิ้วใส่เราได้

  1. ประโยชน์อันดับแรก คือ เช็ดความสกปรกออกจากริมฝีปาก และปลายนิ้ว เมื่อรู้ถึงจุดประสงค์นี้แล้ว คงพอจะรู้แล้วว่า ดังนั้น ไม่ควรใช้ทำอะไรบ้าง
  2. เมื่อนั่งลง รีบวางผ้ากันเปื้อนไว้บนตัก แต่หากมีผู้ใหญ่หรือเจ้านายอยู่ด้วย ต้องรอให้เจ้านาย หรือผู้ใหญ่หยิบเสียก่อน
    รอยลิปสติก หรือรอยปากที่อยู่บริเวณถ้วยกาแฟ หรือแก้วน้ำ ใช้ผ้ากันเปื้อนค่อย ๆ เช็ดเงียบ ๆ (เพื่อไม่ให้สกปรก ควรใช้ผ้ากันเปื้อนแตะที่ริมฝีปากก่อนดื่ม) ห้ามใช้ผ้ากันเปื้อน เช็ดหน้าหรือคอ หรือแว่นตาเด็ดขาด มิฉะนั้นจะเช็ดริมฝีปากไม่ได้
  3. รอยเปื้อนบนโต๊ะ ควรบอกพนักงานบริการ ให้เป็นคนเช็ด ไม่ควรใช้ผ้ากันเปื้อนของเรา เพราะว่า ผ้ากันเปื้อนไม่ใช่ผ้าสำหรับเช็ดโต๊ะ การใช้ผ้าเช็ดหน้า หรือกระดาษทิชชู่เช็ดริมฝีปากหรือนิ้ว บ่งบอกว่าใช้ผ้ากันเปื้อนไม่เป็น
  4. ในขณะที่กำลังทานอาหารอยู่ หากต้องลุกออกไปจากที่นั่ง ให้วางผ้ากันเปื้อนไว้ข้างโต๊ะ หรือวางไว้บนเก้าอี้ของเรา

3. ใช้มีด, ส้อม, ช้อน อย่างไรให้ถูกต้องตาม มารยาทการทานอาหารยุโรป

จะทานอาหารให้เก่ง และอร่อย ต้องใช้ มีด, ส้อม และช้อนอย่างถูกต้อง อีกทั้ง หากใช้อุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง ก็สามารถใช้วิธีทานอาหารได้ถูกต้องเกือบทั้งหมด ก่อนอื่น ต้องรู้ถึงวิธีใช้เบื้องต้นเสียก่อน

จับส้อมมือซ้าย จับมีดมือขวา

จับส้อมและมีดตามรูป ให้นิ้วชี้อยู่ด้านบน จับให้แน่น อย่าให้หลุดออกจากมือได้

ใช้ส้อม ตักอาหาร ? จิ้มอาหาร ?

มีคำกล่าวว่า การใช้ส้อมจิ้มอาหารเป็นวิธีที่ไม่สมควร ต้องใช้ส้อมตักอาหาร ยกเว้นอาหารบางอย่างซึ่งใช้จิ้มทานจะสะดวกกว่า
ทานเสร็จแล้ว ต้องวางไว้ในที่ที่ถูกกำหนดเอาไว้แล้ว

เมื่อทานเสร็จแล้วให้วางมีดและส้อมไว้บนจานตามรูป ด้านคมของมีดหันเข้าหาตัว ส่วนส้อมให้วางหงายขึ้น

มีดและส้อม ใช้จากด้านนอกเข้ามาตามลำดับ

ตามธรรมดาแล้ว มีดและส้อมเป็นของที่ใช้คู่กัน หากมีมีดและส้อมวางเรียงอยู่หลายอัน ทั้งทางซ้ายและขวาละก็ ให้ใช้จากด้านนอกเข้ามาทีละคันตามอาหารที่ถูกนำมาเสิร์ฟตามลำดับ
ถ้ากรณีที่มีส้อมมาก คงเป็นเพราะอาหารจานแรกเป็นออเดิร์ฟที่ใช้แค่ส้อมเพียงอย่างเดียว กล่าวคือ ช้อนสำหรับซุปจะวางไว้ด้านนอกต่อจากมีด

การถือช้อน ใช้วิธีเดียวกับการจับดินสอ

วิธีถือช้อน ให้ใช้วิธีเดียวกับวิธีถือดินสอ การกุมด้ามส้อมหรือช้อนจนแน่น โดยใช้นิ้วทั้ง 5 นิ้ว ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ที่ถูกนั้น ปลายนิ้วควรจะอยู่กลางด้ามส้อม หรือค่อนขึ้นข้างบนนิดหน่อย
การถือส้อม บางครั้งใช้วิธีเดียวกับการถือช้อน คือจับหงายขึ้น บางครั้ง เพื่อความสะดวกในการรับประทานอาหารจะถือส้อมหงายขึ้นก็ไม่ผิดอะไร และในตอนนั้นไม่ว่าจะถือส้อมด้วยมือซ้ายหรือมือขวา ก็ให้ใช้วิธีเดียวกันกับการถือช้อน

ใช้ด้านหน้าของส้อมตักอาหารขึ้นมากหน่อยก็ได้


หลักในการถือส้อมคือต้องคว่ำด้านหลังขึ้นมาอยู่ข้างบน แต่หากเป็นข้าวหรือจำพวกเมล็ดถั่วจะใช้ด้านหลังของส้อมตักขึ้นมาไม่ได้ จึงให้หงายส้อมขึ้น จับด้ามเช่นเดียวกับขณะที่ถือดินสอ ตักอาหารอย่าให้หล่นแล้วจึงใส่ปากทาน

มีดและส้อม เมื่อยังไม่เลิกทานจะวางอย่างไร


ขณะที่รับประทานอาจจะมีการจิบไวน์ไปพลาง หรือคุยกับคนข้าง ๆ ไปพลาง ควรวางมีดและส้อมไว้ กรณีนี้มีระเบียบว่า ต้องวางมีดและส้อมไว้ในจานให้เป็นรูป “[ ]” วางด้านคมของมีดไว้ด้านใน ส่วนส้อมให้คว่ำด้านหลังขึ้นมาอยู่ข้างบนดังรูป

ทำมีดหรือส้อมหล่น ไม่ต้องเก็บ

ถ้าทำส้อมหรืออุปกรณ์อื่น ๆ หล่นลงมา ควรเรียกพนักงานฯให้มาเก็บแทน เพราะว่าลูกค้าไม่ใช่คนที่มีหน้าที่เก็บของที่ตัวเองทำหล่น
กรณีที่ต้องการมีดหรือส้อมคันใหม่ ต้องเรียกพนักงาน ฯ นำมาเปลี่ยนให้ใหม่ ไม่ควรคิดว่าเป็นความผิดของตนเองที่ทำหล่น แล้วอย่าเรียกพนักงานฯมาเก็บจะดีกว่า

นี่คือจุดสำคัญ……….ใช้มีด, ส้อม ต้องระวัง

จุดที่ต้องระวังเป็นพิเศษสำหรับมารยาทในการใช้มีดส้อม และช้อน เห็นจะเป็นเสียงหนวกหูนั่นเอง อย่างไรก็ตาม มีด, ส้อม และช้อน เป็นของใช้ที่ทำด้วยโลหะ ส่วนจานเป็นภาชนะที่ทำจากกระเบื้อง ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ เมื่อขัดสีกัน ย่อมมีเสียงดังรบกวนเกิดขึ้น ดังนั้นจะไม่ให้เกิดเสียงดังขึ้นมาเลยคงเป็นไปไม่ได้ เอาเป็นแค่ไม่ต้องถูกคนอื่นจ้องมองก็พอ

อีกประการหนึ่ง อย่าลืมว่า มีดทุกชนิดเป็นของมีคมทั้งนั้น ถึงแม้ว่า มีดสำหรับทานปลาจะไม่เหมือนมีดหั่นเนื้อปลาในครัวจริง ๆ สักเท่าไร แต่ มีดก็คือมีด จึงควรเรียนรู้วิธีใช้ที่ถูกต้องดังต่อไปนี้

  1. หากออกแรงจับมีดหรือส้อมมากเกินไป ขณะรับประทานอาหารจะก่อให้เกิดเสียงดังขึ้นได้โดยง่าย
  2. เวลาที่ต้องใช้มีดเขี่ยอาหารในจานเข้ามารวม ๆ กัน ควรถือมีดห่างจากจานเล็กน้อย จะป้องกันการเกิดเสียงที่น่ารำคาญได้
  3. อย่ากางข้อศอกมากเกินไปในขณะที่ใช้มีดและส้อม เพราะจะทำความรำคาญต่อผู้ที่อยู่ด้านข้างได้
  4. เมื่อใช้ส้อมจิ้มอาหารขึ้นมาแล้วต้องทานเพียงคำเดียว อย่านำของชิ้นใหญ่เกินไปเข้าปาก หรือจิ้มของชิ้นใหญ่เกินไปแล้วนำขึ้นมากัดเพียงเล็กน้อย แล้วก็วางกลับคืนในจานโดยที่ส้อมยังคงคาอยู่ที่ชิ้นอาหารนั้น ๆ
  5. อย่าหันด้านมีคมของมีด หรือแกว่งส้อมไปยังผู้อื่น และอย่าแก่งมีด, ส้อม หรือช้อนเล่นไป มา
  6. และสุดท้ายก็คือ ห้ามใช้มีดจิ้มอาหารนำเข้าปากแทนส้อม อย่าเลียน้ำจิ้มที่ติดอยู่บนมีด

กรุณาติดตามตอนต่อไป ชอบใจช่วยแชร์ต่อนะครับ

คุณต้องเข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า