พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตต้องไป

พิพิธภัณฑ์ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตต้องไป

The Grand Lourveพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ หรือในชื่อทางการว่า the Grand Louvre เป็นพิพิธภัณฑ์ทางศิลปะตั้งอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส พิพิธ ภัณฑ์ลูฟวร์เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงที่สุด เก่าแก่ที่สุด และใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้เมื่อปี พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793) มีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยราชวงศ์กาเปเซียง ตัว อาคารเดิมเคยเป็นพระราชวังหลวง ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ที่จัดแสดงและเก็บรักษาผลงานทางศิลปะที่ทรงคุณค่า ระดับโลกเป็นจำนวนมากกว่า 35,000 ชิ้น จากตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงศตวรรษที่ 19 อย่างเช่น ภาพเขียนโมนาลิซา, The Virgin and Child with St. Anne, Madonna of the Rocks ผลงานของ เลโอนาร์โด ดาวินชี หรือภาพ Venus de Milo ของอเล็กซานดรอสแห่งแอนทีออก ในปี พ.ศ. 2549 พิพิธ ภัณฑ์ลูฟวร์มีผู้มาเยี่ยมชมเป็นจำนวน 8.3 ล้านคน ทำให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้มาเยี่ยมชมมากที่สุดในโลก และยังเป็นสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดในกรุงปารีส

พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ หรือ Musée du Louvre แบ่งพิพิธภัณฑ์ออกเป็น 3 ปีก ได้แก่ Richelieu อยู่ทางทิศเหนือ Sully เป็นอาคารสี่เหลี่ยมทางทิศตะวันออก และ Denon อยู่ทิศใต้ขนานกับแม่น้ำแซน แต่ละปีกแบ่งเป็นสัดส่วนจัดเก็บศิลปะแบ่งตามประเภทและยุคสมัย ทุกปีกมี 4 ชั้น เริ่มตั้งชั้นใต้ดินขึ้นไป โดยทางเข้าของพิพิธภัณฑ์อยู่ใต้ปิรามิด ซึ่งเป็นอีกจุดที่มีชื่อเสียงไปไม่น้อยกว่าตัวพิพิธภัณฑ์คือ พีระมิดแก้วที่เป็นทางเข้าของพิพิธภัณฑ์ ซึ่งนับเป็นงานศิลปะชิ้นเอกชิ้นหนึ่งที่ผู้คนมักจะจดจำ และเป็นเสมือนภาพลักษณ์ของลูฟวร์ไปเสียแล้ว พีระมิดกระจกนี้ ออกแบบโดยสถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายจีนชื่อดังนามว่า I.M.Pei (ซึ่งในตอนแรกถูกวิจารณ์อย่างหนักแบบเดียวกับการสร้างหอไอเฟลเมื่อร้อยปี ก่อน) ก่อนสร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี ค.ศ. 1988 เพื่อใช้เป็นทางเข้าพิพิธภัณฑ์ โดยเป็นจุดพักก่อนเข้าไปในตัวพิพิธภัณฑ์จากทางชั้นใต้ดิน โดยหลังจากสร้างพีรามิดแก้วแล้วก็ยังมีการสร้างพีระมิดกลับหัว หรือ(The Inverse Pyramid)ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากใต้ดินซึ่งอยู่ระหว่างปีกทั้งสาม

รูปโมนาลิซ่า

เมื่อ ไปเยือนพิพิธภัณฑ์ลูฟร์แล้วก็คงไม่พูดถึงไม่ได้คือ งานศิลปะที่จัดเเสดงไว้มากมาย ถ้าให้พูดก็คงไม่หมดแต่ที่ ไม่พูดเลยก็คงไม่ได้ คือ  ภาพวาด โมนาลิซ่า ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกของ เลโอนาร์โดดาวินชี จิตกรเอกของโลก เพราะเธอทำให้คนทั่วโลกต้องข้ามน้ำ ช้ามทะเลมาที่ฝรั่งเศสเพื่อได้ชมเธอ ที่จัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้

        ภาพโมนาลิซ่านี้ถูกวาดโดย ดา วินชี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2046 ถึง พ.ศ. 2050 ใช้เวลา    นานถึง 4 ปีในการวาด ในปี ค.ศ. 1516 (พ.ศ. 2059) ดา วินชีได้นำภาพจากอิตาลีไปที่ฝรั่งเศส ด้วยพระราชประสงค์ของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 ที่ทรงปรารถนาที่จะให้ศิลปินทั้งหลายมารวมตัวทำงานกันที่ Clos Lucé ใกล้กับปราสาทใน เมืองอัมบัวส์ และยังทรงให้ ดา วินชี วาดพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์อีกด้วย หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงซื้อภาพโมนาลิซ่า ในราคา 4,000 เอกือ

คำว่า “โมนาลิซา” นั้น ได้ถูกตั้งขึ้นโดยจอร์โจ วาซารี (Giorgio Vasari) ศิลปิน และนักชีวประวัติชาวอิตาลี หลัง จากดา วินชีได้เสียชีวิตไป 31 ปี ในหนังสือที่เขาตีพิมพ์นั้นได้บอกไว้ว่าผู้ที่นั่งอยู่ในรูปนั้นคือ ลีซา เกอราร์ดีนี ภรรยาของขุนนางนักธุรกิจไหมผู้มั่งคั่ง ชาวเมืองฟลอเรนซ์นามว่า ฟรานเชสโก เดล โจกอนโด (Francesco del Giocondo)

คำว่า โมนา” (Mona) ในภาษาอิตาลีนั้นก็คือคำว่า มาดอนนา (madonna) คุณผู้หญิง (my lady) หรือ มาดาม (Madam)ในภาษาอังกฤษ ดังนั้นความหมายของชื่อนั้นก็คือ “มาดาม ลิซา” แต่ในปัจจุบัน บางครั้งก็จะใช้คำว่า มอนนา ลิซา (Monna Lisa)

ใน ปี ค.ศ. 1519 (พ.ศ. 2062) ดา วินชี ได้เสียชีวิตที่เมืองอัมบัวส์ ประเทศฝรั่งเศส รวมอายุได้ 67 ปีตอนที่ ดา วินชี เสียชีวิตแล้วได้ยกสมบัติและภาพวาดทั้งหมดให้เป็นมรดกของผู้ติดตามของเขา ฟรานเซสโก เม  ลซิ (Francesco melci) และเมื่อฟรานเซสโก เมลซิ เสียชีวิตลงก็ไม่ได้ยกมรดกให้ใคร มรดกก็เริ่มกระจัดกระจาย

                         ต่อมาภาพโมนาลิซ่าถูกนำไปเก็บไว้ที่ พระราชวังฟงเตนโบล ต่อมาก็ในพระราชวังแวร์ซาย หลังจากสิ้นสุดการปฏิวัติฝรั่งเศส ก็ถูกไปนำเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ในห้องสรงของพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ในพระราชวังตุยเลอรี แล้วในที่สุดก็ได้กลับมาที่พิพิธภัณฑ์เหมือนเดิม

ใน ช่วงสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ระหว่างปี พ.ศ. 2413 – 2414 ภาพได้ถูกนำออกจากพิพิธภัณฑ์ ไปซ่อนไว้ในที่ลับในประเทศฝรั่งเศส  เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ภาพโมนาลิซ่าถูกโจรกรรมออกจากพิพิธภัณฑ์ ซึ่งกว่าจะค้นพบเธอก็ได้ใช้เวลาไปถึง 2 ปี ซึ่งได้พบในเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ปัจจุบันเธอถูกดูแลรักษาอย่างดี ในตู้กระจกปรับอากาศกันกระสุน พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ อันเป็นเครื่องหมายสากลว่า โมนา ลิซา จะไม่มีวันที่จะได้เคลื่อนย้ายไปแสดงที่ไหนอีกเป็นเด็ดขาด

ต่อมาเป็นงานศิลปะที่ทุกคนที่ไปเยือนให้ความสนใจไม่ต่างกันคือ อนุสรณ์ชัยชนะที่ซาโมเทรซ หรือ เทพีไนกี้แห่งซาโมเทรซ (The Winged Victory of Samothrace)

เป็นประติมากรรมยุคกรีกเฮเลนิสติก แกะสลักจากหินอ่อนแสดงภาพเทพีไนกี้หัวขาดกางปีก สร้างขึ้นในราว 300 ปีก่อนคริสตกาลเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะของกรีซในการรบที่ซาโมเทรซ ถูกค้นพบบนเกาะซาโมเทรซ ประเทศกรีซในปี ค.ศ. 1863 ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1884 นับ เป็นหนึ่งในสุดยอดงานศิลปะล้ำค่าของพิพิธภัณฑ์ และหนึ่งในประติมากรรมที่มีชื่อเสียงของโลก ด้วยเส้นสายที่อ่อนช้อยของปีกที่กางออก และเสื้อผ้าที่พลิ้วไหวราวกับต้องกระแสลมเมื่อเทพีไนกี้กำลังร่อนลงสู่พื้น ดิน

ไนกี  (Nike) ตามเทพปกรณัมกรีก เป็นเทพีบุคคลาธิษฐานแห่งชัยชนะ นางเป็นพระธิดาแห่งพาลลัส (Pallas) เทพแห่งปัญญาและนักรบ และสติกซ์ (Styx) เทพีแห่งความเกลียดชัง อาฆาตแค้น และเป็นพระขนิษฐาของคราตอส (Cratos) เทพแห่งพละกำลัง ไบอา (Bia) เทพีแห่งอำนาจและความรุนแรง และซีลัส (Zelus) เทพแห่งการต่อสู้ เทพีไนกีและเหล่าพี่น้องของนางเป็นผู้รับใช้ของซุส (Zeus) ตามตำนานเทพ เทพีสติกซ์นำพวกนางมาช่วยเหลือเทพซุสในศึกกับยักษ์ไททัน เทพีไนกีทำหน้าที่เป็นผู้ขับรถม้าศึก ภาพนี้มักปรากฏในผลงานศิลปกรรมคลาสสิก พระนามในตำนานเทพปกรณัมโรมันของนางคือ วิกตอเรีย (Victoria) ปีกของเทพีไนกีเป็นสัญลักษณ์ของลักษณะอันรวดเร็วแห่งชัยชนะ

พิพิธ ภัณฑ์ลูฟร์ไม่ได้เป็นเพียงแต่การคจัดแสดงเพียงงานศิลปะ แต่ยังมีการจัดแสดงเกี่ยวกับวุตถุโบราณคือต่างๆไว้มากมาย แต่วันนี้ขอแนะนำคือ แผ่นจารึกแกะสลักของ พระเจ้าฮัมมูราบี ราชาแห่งบาบิโลเนีย ประมวลกฎหมายฮัมมูราบี (Code of Hammurabi)

ซึ่งเป็นเป็นบทบัญญัติที่รวบรวมกฎหมายต่าง ๆ และพระราชกฤษฎีกาของพระเจ้าฮัมมูราบี ราชา แห่งบาบิโลเนีย และเป็นประมวลกฎหมายที่เก่าแก่ที่สุด ประมวลกฎหมายนี้คัดลอกไว้โดยการแกะสลักลงบนหินบะซอลต์สีดำสูง 2.25 เมตร ซึ่งต่อมาทีมนักโบราณคดีฝรั่งเศสขุดพบที่ Sūsa ประเทศอิรัก ในช่วงฤดูหนาวปี 1901 ถึง 1902 หินสลักนี้แตกเป็น 3 ชิ้นซึ่งต่อมาได้รับการบูรณะ และ จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์ แห่งนี้ ซึ่ง กฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมาย อาญา โดย ยึดหลักที่ปัจจุบันเรียกว่า “ตาต่อตา ฟันต่อฟัน” อันหมายถึงทำผิดอย่างไรได้โทษอย่างนั้น ซึ่งแม้บทลงโทษตามกฎหมายฮัมมูราบีจะดูว่าโหดเหี้ยมตามความคิดของคนสมัยใหม่ แต่การทำกฎหมายให้เป็นลายลักษณ์อักษรและพยายามใช้บังคับอย่างเป็นระบบกับทุก คน และการ “ถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อนจนกว่าจะได้รับการพิสูจน์ว่าผิด” นับเป็นหลักการสำคัญที่นับเป็นวิวัฒนาการทาง อารยธรรม ของมนุษย์

และอีกหนึ่งไฮไลต์ที่พลาดไม่ได้อีกเช่นกันคือรูปปั้นวีนัส เดอมิโล (Venus de Milo)

ประติมากรรม อีกหนึ่งชิ้นที่เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ ลูฟว์ คือ วีนัส เดอมิโล (Venus de Milo)  เป็นประติมากรรมในยุคกรีกก่อนคริสตกาล สร้างขึ้นจากหินอ่อนมีขนาดสูง 6 ฟุต 10 นิ้ว เพื่อแทนความงามของเทพวีนัสและบ่งบอกถึงรสนิยมของผู้หญิงในอุดมคติของคนใน ยุคสมัยนั้น เนื่องจากศิลปะชิ้นนี้อยู่ในสมัยเฮเลนิสติกของกรีก รูปปั่นแกะสลัก เทพวีนัสนี้ ได้ชื่อว่า แห่งลามิโอ เพราะดังเดิมนั้นมีพื้อเพมาจาก เกาะมิลอสของกรีก โดยชาวนาได้เอิญไถนาไปพบ เข้าในปี ค.ศ. 1820 ในสมัยนั้น ประเทศต่างๆในยุโรปกำลัง สนุกสนานกับการเล่นของโบราณของกรีก เมื่อทราบข่าวว่ามีการขุดพบ วัตถุโบราณ เป็นรูปปั่น เทพวีนัส ทำให้ฝรั่งเศส และ ตุรกี ซึ้งเป็นเจ้าอาณานิคมของประเทศ กรีกในตอนนั้นมีการทะเละเพื่อแย่งชิงนาง ก่อนที่ฝรั่งเศสจะได้เป็นผู้ครอบครองนางในที่สุด

รูปประติมากรรมหินอ่อนวีนัส ของมิโล (Venus de Milo) ถูกเพิ่มมาจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ลูฟร์แห่งนนี้ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ต่อให้เวลาผ่านไปนานแค่ไหน แต่เธอก็ยังได้ชื่อว่าเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดไม่ต่างจาก โมนาลิซา นั้นเอง

สุดท้ายนี้ก็ขอฝากถึงท่านที่กำลังคิดที่อยากจะเที่ยวหรือกำลังมองหาสถานที่ท่องเที่ยวแต่ยังไม่รู้จะเที่ยวที่ไหนดีขอแนะนำที่นี้เพราะว่าทุกท่านจะไม่เบื่อเลย ซ้ำยังสนุกการเยี่ยมชมศิลปะที่สวยงามและมีคุณค่า ขอบคุณคะ……..

คุณต้องเข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า